หน้าเว็บ

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อิเล็กทรา... ธิดา แห่งแอตลาส

อิเล็กทรา... ธิดา แห่งแอตลาส           
เซลล์ไฟฟ้าที่สร้างขึ้นในบาบิโลนโบราณ
ชาวกรึกโบราณมีเรื่องปรัมปราอย่างหนึ่ง นั่นคือ แอตลาส (อัตลาส) ผู้ค้ำเสาในทะเล ไกลพ้นจากเส้นขอบฟ้า สุดทางตะวันตก มีธิดาชื่ออิเล็กทรา บ้างก็ว่าเทพเจ้าโอเซียนุส เป็นบิดาของนาง คำว่า อิเล็กทรา (Electra) นั้นในภาษากรีกหมายถึง สิ่งที่สว่างสดใส นอกจากนี้ยังหมายถึงแท่งอำพัน ซึ่งให้ไฟฟ้าออกมาจากการเสียดสี ในเมื่อปกติแล้วเราถือกันว่า แอตลาสก็คือ แอตแลนติส แล้วเราจะไม่คิดว่ามีไฟฟ้าอยู่ในแอตแลนติสหรอกหรือ ?
             
เมื่อวันสุกดิบก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง วิลเฮล์ม โคนิก วิศวกรและนักโบราณคดีชาวเยอรมัน ได้ค้นพบสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในประเทศอิรัก ในช่วงการขุดค้นใกล้เมืองแบกแดด เขาก็บังเอิญพบหมู่บ้านพาร์เธียน มีโอ่งประหลาดจำนวนมาก ทำให้โคนิกนึกถึงแบตเตอรี่แบบปฐมภูมิ เพราะรูปร่างหน้าตาคล้ายอย่างนั้น ในโอ่งหรือไหดังกล่าวมีม้วนแผ่นทองแดงม้วนหนึ่ง ภายในนั้นมีแท่งเหล็กสอดอยู่ คาดว่าทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้า ขอบของแผ่นทองแดงนั้นบัดกรีเข้ากับโลหะผสมตะกั่วดีบุก 60:40 แท่งเหล็กนั้นฝังอยู่ในตัวยึดแอสฟัลต์ มีจานทองแดงจีบวางอยู่ที่ส่วนล่างสุดของของแผ่นทองแดงนี้ และมีการใช้แอสฟัลต์เป็นฉนวน ช่องว่างระหว่างผนังกระบอกทองแดงกับแท่งเหล็กมีสารละลายตัวนำไฟฟ้าบรรจุอยู่ แต่เนื่องจากความเก่า แบตเตอรี่ที่โคนิกพบจึงไม่มีร่อยรอยทางเคมี
ลักษณะทางโครงสร้างของเซลล์ไฟฟ้า
วิลลี ลีย์ นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงได้ให้ความสนใจกับการค้นพบนี้ และขอร้องให้บริษัทเยเนอรัลอิเล็กทริกที่พิตต์สฟิลด์ รัฐแมสซาชูเส็ทท์ ได้ลองสร้างแบบจำลอง และทดสอบเซลล์ดังกล่าวว่าจะเป็นแบตเตอรี่จริง เยเนอรัลอิเล็กทริกได้จำลองแบตเตอรี่นี้ขึ้น และบรรจุคอปเปอร์ซัลเฟตแทนสารตัวนำไฟฟ้าที่เราไม่ทราบ และปรากฏว่าแบตเตอรี่ดังกล่าวไช้งานได้จริง

นักโบราณคดียังค้นพบโลหะชุบด้วยไฟฟ้าอายุ 4,000 ปี ในสถานที่เดียวกับที่พบเซลล์ไฟฟ้านั้น 
         
วัสดุทองแดงที่ค้นพบได้ในเปรูก็ชุบด้วยทองคำ เครื่องประดับ หน้ากาก และลูกปัดอื่น ๆ ชุบด้วยเงิน และมีวัสดุเงินจำนวนมากที่ชุบด้วยทองคำ นักเขียนและนักโบราณคดีชาวอเมริกันนามว่าเวอร์ริลล์กล่าวว่า การชุบไฟฟ้านั้นทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ และประณีตมาก ทำให้ทุกคนที่ได้พิจารณาลงความเห็นว่า หากไม่ทราบว่ามีที่มาอย่างไร ก็ต้องบอกว่าเป็นการชุบด้วยไฟฟ้า
           
หลุมศพของนายพลเชาชูของเมืองจีน (ค.ศ.265 - 316) เป็นเรื่องลี้ลับที่ยังไม่มีใครทราบ การแยกสีของเครื่องประดับโลหะ แสดงว่ามีทองแดงร้อยละ 10 แมกนีเซียมร้อยละ 5 และอะลูมิเนียมร้อย 85 อะลูมิเนียมนี้ดูจะแปลกที่สุดในหลุมศพโบราณ เพราะต้องสร้างขึ้นมาด้วยการแยกสลายด้วยไฟฟ้า มีการทดสอบซ้ำหลายครั้ง แต่ก็ได้ผลเช่นเดิม นั่นหมายความว่า ชาวจีนใช้ไฟฟ้าในศตวรรษที่สี่อย่างนั้นหรือ
             
คัมภีร์โบราณที่ชื่อ อคัสตยะ สัมหิตา เก็บรักษาอยู่ในหอสมุดอินเดียนปรินเซส ที่เมืองอุชไชน มีคำแนะนำที่น่าแปลกใจ เรื่องการสร้างแบตเตอรี่เซลล์แห้ง แผ่นทองแดงสะอาดควรวางไว้ในภาชนะดินเผา จากนั้นในชั้นแรกควรโรยจุนสี และจากนั้นปิดด้วยขี้เลื่อยชื้น จากนั้นใช้แผ่นสังกะสีผสมปรอทเพื่อป้องกันการเกิดขั้ว วางไว้บนชั้นขี้เลื่อย จากนั้นจะเกิดพลังงานเหลวที่เรียกด้วยนามคู่ว่า มิตรา - วารุณา น้ำจะถูกแยกด้วยกระแสนี้ เกิดเป็นปราณวยุ และอุทนวยุ การใช้ภาชนะดังกล่าวรวมเข้าด้วยกันหนึ่งร้อยชิ้น กล่าวว่าจะให้ประสิทธิภาพและพลังอย่างมาก
           
มิตรา - วารุณา นั้น ตีความได้ง่าย ๆ ว่าเป็นขั้วบวก ส่วนปราณวยุและอุทนวยุ ก็คือออกซิเจนและไฮโดรเจน ฤๅษีอคัสตยะผู้ชาญฉลาดนั้นยังมีชื่อในประวัติศาสตร์ว่า กุมภโยนิ จากคำว่า กุมภ หรือโอ่ง (หม้อ) จากเรื่องโอ่งดิน ที่ท่านใช้สร้างแบตเตอรี่ และโยนิ หมายถึงแหล่งกำเนิด นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างบุษบกวิมาน หรืออากาศยานด้วย      
นอกจากแบตเตอรี่แล้ว ประวัติศาสตร์ยังกล่าวว่ามีเรื่องน่าอัศจรรย์ที่สร้างโดยคนโบราณ โอวิดเขียนไว้ว่า นูมา พอมพิลิอุส กษัตริย์องค์ที่สองของโรมเคยปลุกจูปิเตอร์เพื่อจุดแท่นบูชา โดยใช้เปลวไฟจากฟ้า นูมาโปรดให้ไฟชั่วนิรันดร์มาเผาไหม้ในโดมของอารามที่ทรงสร้าง เพาซาเนียสได้สังเกตตะเกียงทองคำในอารามเนรวา เมื่อปี ค.ศ.170 ตะเกียงนั้นให้แสงสว่างมานับปีโดยไม่มีการเติมเชื้อเพลิง
             
ในบรรดาหลุมศพใกล้เมืองเมมฟิส นครโบราณแห่งอียิปต์ มีแสงที่ลุกโชนตลอดกาล ที่พบในหอปิดสนิท แต่หลังจากโดนอากาศ เปลวไฟนั้นก็ดับลง ตะเกี่ยงที่ติดตลอดกาลลักษณะคล้ายกันนี้ ทราบว่ามีมีอยู่ในโบสถ์พราหมณ์ในอินเดียด้วย
             
รูปปั้นเมมนอนในอียิปต์พูดได้ ทันทีที่แสงอาทิตย์ยามเช้าสาดส่องมาที่ปาก เสียงนั้นออกมาจากฐานรูปปั้น จูเวนัลกล่าวว่า เมมนอนเปล่งเสียงวิเศษของตนออกมา ส่วนชาวอินคาก็มีเทพเจ้าพูดได้ ในหุบเขาริมัค ไม่จำเป็นต้องกล่าวเลยว่าการสร้างรูปปั้นนี้ต้องใช้ความรู้ทางฟิสิกส์อย่างดี
ยังมีเหตุผลต่าง ๆ ที่จะเชื่อว่าแสงวาบจากดวงตาของเทพเจ้าอียิปต์ โดยเฉพาะของเทพอิซิสย่อมเกิดจากกระแสไฟฟ้า เพราะการใช้งานแปลกประหลาดต่าง ๆ ในอียิปต์
             
ลูเซียน (ค.ศ.120 - 180) นักท่องเที่ยวชาวกรีกได้เดินทางไปยังไฮเอราโพลิส ในซีเรียตอนเหนือ และบรรยายถึงความมหัศจรรย์ที่นั่น เขาเห็นเพชรพลอยบนศีรษะเทพเฮรา มีแสงวูบวาบอย่างเจิดจ้า ดังนั้นอารามจึงสุกสว่างราวกับแสงเทียนสุดแสนคณานับ ยังมีเรื่องอัศจรรย์อีกเรื่องหนึ่ง นั่นคือดวงตาของเฮรานั้นจะมองตามตน ไม่ว่าเขาจะขยับไปทางใดก็ตาม ลูเซียนมิได้อธิบายปรากฏการณ์นี้ เพราะเขาอธิบายไม่ได้ นักบวชปิดบังศาสตร์ของตนไว้ในความมืดมิให้เขาทราบ
           
ภาพฝาผนังที่สีสดใส ทั้งบนผนังและเพดานของหลุมศพหิน ตัดในอียิปต์ จะต้องมีการทาสีท่ามกลางแสงสว่างเจิดจ้า อย่างไรก็ตาม แสงแดดก็ไม่เคยได้ย่างกรายเข้าไปในหอมืดนี้เลย ไม่มีแสงจากคบไฟ หรือตะเกียงน้ำมัน แล้วแสงไฟฟ้ามีใช้ในหอเหล่านี้อย่างนั้นหรือ ?
             
ความลี้ลับแห่งอารามฮาดัด หรือจูปิเตอร์ ที่บาลเบก มีความสัมพันธ์กับหินเรืองแสง การมีหินเหล่านี้อยู่ทำให้กลายเป็นแหล่งกำเนิดแสงในเวลากลางคืนในสมัยโบราณ คงจะไม่เป็นที่กังขา เพราะมีนักเขียนได้เขียนเรื่องเหล่านี้มามากมายแล้ว
         
พลูตาร์ชได้เขียนไว้ในศตวรรษที่หนึ่งว่า ตนได้เห็น ตะเกียงที่สว่างชั่วนิรันดร์ ในอารามจูปิเตอร์ อะมุน ที่นักบวชยืนยันแก่เขาว่า จะสว่างต่อเนื่องไปหลายปี ไม่ว่าลมหรือน้ำก็ไม่อาจทำให้ตะเกียงนี้ดับ สุสานหินแห่งพัลลัส บุตรของอีแวนเดอร์ ไม่มีอะไรจะดับได้ กระทั่งในเวลาต่อมาต้องแตกเป็นเสี่ยง ๆ เนื่องจากการนำมาใช้อย่างไม่ใส่ใจ เซนต์ออกุสทิน (ค.ศ.354) บรรยายถึงตะเกียงที่สว่างตลอดกาลที่เห็นในอารามแห่งวีนัส ส่วนเคเดรนุสเห็นตะเกียงอมตะที่อีเดสซา ในซีเรีย ซึ่งลุกโชนมาห้าร้อยปีแล้ว
             
อับบี เอวาริสตี เรกิส ฮูค (ค.ศ.1813 - 1860) ประกาศว่าเขาได้ตรวจสอบตะเกียงดวงหนึ่งในทิเบตที่ลุกสว่างชั่วนิรันดร์          
เรื่องเล่าเกี่ยวกับตะเกียงประหลาดยังมีในอเมริกาด้วยเช่นกัน เมื่อ ค.ศ.1601 บาร์โก เคนเตเนรา ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับนครกัน โมกโซ ใกล้กับต้นแม้น้ำปารากวัย แมตโต กรอสโซ ในเรื่องนี้เขาได้ให้ภาพนครเกาะลึกลับจากความทรงจำของนักล่าอาณานิคม ดังนี้ .-
           
ในตอนกลางของทะเลสาบมีเกาะแห่งหนึ่ง บนนั้นมีสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นอย่างเลอเลิศงดงามยิ่ง เกินกว่ามนุษย์จะเข้าใจได้ วิหารของเทพเจ้ากรัน โมกโซ นี้สร้างด้วยศิลาสีขาว จากฐานถึงหลังคา ที่ทางเข้ามีหอคอยสูงมากสองหลัง และมีทางขึ้นบันไดอยู่ตรงกลางที่เสาตรงกลาง ทางด้านขวามีสิงโตเป็น ๆ สองตัว (เสือจากัวร์ - โทมัส) นอนหมอบอยู่ข้าง ๆ ผูกโซ่ทองไว้ที่ยอดเสาสูง 25 ฟุตนั้น มีพระจันทร์ดวงใหญ่ส่องสว่างไปทั่วทะเลสาบ ขจัดความมืดและเงาทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งหมดนั้นจึงสว่างสดใสมาก
             
นายพัน พี.เอช. ฟอว์เซตต์ ได้รับคำบอกเล่าจากชาวพื้นเมืองในแมตโตกรอสโซว่า แสงเย็นที่ลึกลับนั้น พวกเขาเห็นได้ในนครที่สาบสูญในป่าทึบ เมื่อเขียนจดหมายไปหานักเขียนชาวอังกฤษ นามว่า ลิวอิส สเปนซ์ เขากล่าวว่า คนพวกนี้มีแหล่งความสว่าง ซึ่งเป็นเรื่องแปลกสำหรับพวกเรา ความจริงแล้วสิ่งเหล่านั้นก็คือ ซากอารยธรรมที่สูญหายไปแล้ว และยังเหลือความรู้เก่าเอาไว้
             
มันตัน อินเดียนผิวขาวในอเมริกาเหนือ มีความทรงจำในเรื่องราวสมัยที่บรรพบุรุษของตนอาศัยอยู่ใน นครที่มีไฟไม่รู้ดับ ไกลโพ้นจากมหาสมุทร นั่นคือแอตแลนติสใช่หรือไม่ ?
             
เพียงไม่กี่ศตวรรษที่ผ่านมานี้ ทราบกันว่า ชาวเกาะทอร์เรส สเตรท มีหินกลม หรือ บูยา ซึ่งให้แสงวาบออกมาได้ หินเปล่งแสงนี้ประดับด้วยเปลือกหอย ผม ฟัน และสีสันต่าง ๆ แสงสีฟ้าเขียว ซึ่งจะเปล่งออกมาจากระยะไกลมาก เป็นปริศนาอย่างยิ่งแก่คนผิวขาวที่ได้เห็น บูยา
             
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา พ่อค้าในนิวกินี ได้ค้นพบหุบเขาในป่าทึบ ใกล้ภูเขาวิลเฮลมินา ที่มีหญิงร่างกายกำยำอาศัยอยู่ พวกเขากลัวมากเมื่อได้เห็นหินกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 ฟุตวางอยู่บนยอดเขา มีแสงสว่างออกมาเหมือนแสงนีออน ซี.เอส. ดาวนีย์ ตัวแทนของการประชุมการจราจรและไฟบนถนนในพรีโทเรีย ในแอฟริกาใต้ มีความประทับใจมากกับการเปล่งแสงในป่านิวกินีนี้ โดยเขากล่าวไว้เมื่อ ค.ศ.1963 ว่า หญิงเหล่านี้ตัดขาดจากโลกภายนอก อาจจะชอบระบบส่องสว่างแบบประดิษฐ์ที่เทียบเท่ากัน หรือเหนือกว่าในศตวรรษที่ยี่สิบ เป็นไปได้ยากเหลือเกินที่หญิงร่างกายกำยำในป่านั้น จะพัฒนาระบบการใช้แสงเหนือกว่าพวกเรา มีความเป็นไปได้อย่างมาก ว่าเขาได้รับมรดกทรงกลมส่องสว่างนี้ จากอารยธรรมที่ไม่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของเรา
           
การมีระบบให้แสงสว่างประดิษฐ์ในสมัยโบราณ ได้รับการยืนยันจากเรื่องพื้นบ้านและนักเขียนสมัยคลาสสิก อิเล็กทรา ธิดาผู้ให้แสงของแอตลาส อาจจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ของไฟฟ้าในแอตแลนติสก็ได้

รายการบล็อกของฉัน