หน้าเว็บ

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566

เฆาะดามิส เมืองโอเอซิสเก่าแก่กลางทะเลทรายสะฮารา ของชนเบอร์เบอร์ที่ได้ฉายาว่า 'ไข่มุกแห่งทะเลทราย'


เฆาะดามิส เมืองโอเอซิสเก่าแก่กลางทะเลทรายสะฮารา ของชนเบอร์เบอร์ที่ได้ฉายาว่า 'ไข่มุกแห่งทะเลทราย' 


เฆาะดามิส (เบอร์เบอร์: ʕadémis; อาหรับ: غدامس; ละติน: Cidamus,
Cydamus; อิตาลี: Gadames)
วันนี้เราก็จะมานำเสนอเมืองโอเอซิสที่อยู่กลางทะเลทรายนะครับมันเป็นอะไรที่มหัศจรรย์มากๆที่มนุษย์สามารถอยู่กลางทะเลทรายที่ร้อนระอุแล้วก็สร้างเป็นเมืองใหญ่โตมโหฬารอยู่กันอย่างสบายบ้านของคนในเมืองนี้บ้างขุดเป็นรูอยู่ยังกะหนูยังกะตุ่น อากาศก็รู้สึกว่าจะสบายๆนะครับกลางทะเลทรายสะฮาราและเมืองที่ชื่อว่าเฆาะดามิส 


เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนเหมือนกับเรากำลังเข้าไปอยู่ในเมืองนี้กรุณาดูภาพประกอบไปด้วยนะครับถ้าอยากจะรู้อะไรมากมาย ก็ลองไป search หาดูใน YouTube ดูใน google ประกอบไปด้วยนะครับจะได้รายละเอียดเพิ่มเติม

เฆาะดามิสเป็นเมืองโอเอซิสของชนเบอร์เบอร์ในอำเภอนาลูต ภูมิภาคตริโปลิเตเนีย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศลิเบีย


ข้อมูลเบื้องต้น เฆาะดามิสغدامس ʕadémis (เบอร์เบอร์), ประเทศ ...
เฆาะดามิมีฉายาว่า 'ไข่มุกแห่งทะเลทราย' ที่อยู่ในโอเอซิส ถือเป็นหนึ่งในเมืองเก่าก่อนทะเลทรายสะฮาราที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นตัวอย่างสำคัญของที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิม สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยแบ่งพื้นที่การใช้งานตามแนวตั้ง: ชั้นล่างใช้เก็บเสบียง ชั้นถัดมาสำหรับครอบครัว โดยตรอกซอกซอยที่ยื่นออกมาสร้างสิ่งที่เกือบเป็นเครือข่ายทางเดินใต้ดิน และชั้นบนเป็นระเบียงเปิดโล่งสำหรับผู้หญิง


ภูมิอากาศ
ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลภูมิอากาศของเฆาะดามิส (ค.ศ. 1961–1990, สูงสุด ค.ศ. 1913–1993), เดือน ...
ข้อมูลภูมิอากาศของเฆาะดามิส (ค.ศ. 1961–1990, สูงสุด ค.ศ. 1913–1993)
เดือนม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย.พ.ค.มิ.ย. ก.ค. ส.ค.
ก.ย. ต.ค. พ.ย.ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 32.0
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 17.6
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 3.6
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -6.9
(19.6) -8.0
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 5.0
ความชื้นร้อยละ 52 41 36 28 26 22 22 23 29 35 47 53 34
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm)1.1 1.2 1.5 0.9 0.4 0.2 0.1 0.1 0.2 1.0 0.8 1.2 8.7
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 248.0 240.1 257.3


ดูสภาพอากาศของเมืองนี้แล้วก็รู้สึกว่าไม่ร้อนไม่หนาวเกินไปนะครับรู้สึกว่าสบายๆสำหรับคนไทย อยู่ได้ ใครอยากจะอพยพไปอยู่เมืองโอเอซิสกลางทะเลทรายแบบนี้ก็อยู่กันได้สบายๆเลยนะครับ

เมฆแมมมาตัสก้อนเมฆรูปร่างแปลกประหลาดที่ดูราวหลุดมาจากมิติต่างดาวนอกโลก


เมฆแมมมาตัสก้อนเมฆรูปร่างแปลกประหลาดที่ดูราวหลุดมาจากมิติต่างดาวนอกโลก

ช่วงนี้ก็เป็นช่วงหน้าฝนนะครับฝนตกเกือบทุกวันคุณสังเกตมองไปบนฟ้าไหมครับ เห็นเมฆมีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะของสภาพภูมิอากาศ แต่วันนี้เราจะมานำเสนอเมฆที่มีลักษณะพิเศษ


ที่ชื่อว่าเมฆแมมมาตัส (อังกฤษ: Mammatus cloud) เป็นรูปทรงคล้ายกับกระเป๋าที่เรียงเป็นรูปแบบเซลล์แขวนอยู่ใต้ฐานของเมฆแม่ 


เมื่อคุณดูแล้วคุณก็จะจินตนาการไปต่างๆนาๆเหมือนกับว่าโลกกำลังจะถึงการวิบัติอากาศวิปริตแล้วยังไงยังงั้น

หรือไม่ก็คิดว่าเป็นเมฆที่มาจากการ
กระทำของมนุษย์ต่างดาว 
ในสถานการณ์ที่เรากำลังเจอเมฆแบบนี้  ความรู้สึกตัว และ จินตนามันก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นในความคิดของเรานั้นเอง

แล้วมันก็จะคิดวาดภาพฝันไปต่างๆนานาเมื่อเห็นเมฆ ประหลาด ที่มีลักษณะนี้ใช่ไหมครับ...วันนี้เราก็เลยมานำเสนอข้อมูลเล็กๆน้อยๆเข้ารายละเอียดกันเลยดีกว่านะครับ


เมฆแมมมาตัส (อังกฤษ: Mammatus cloud) เป็นรูปทรงคล้ายกับกระเป๋าที่เรียงเป็นรูปแบบเซลล์แขวนอยู่ใต้ฐานของเมฆแม่ โดยทั่วไปจะแขวนอยู่กับเมฆฝนคิวมูโลนิมบัส แม้ว่าสามารถอาจแขวนอยู่กับเมฆแม่อื่น ๆ ได้อีกด้วย 


ชื่อ mammatus มาจากภาษาละติน mamma (แปลว่า "เต้านม") ตาม WMO International Cloud Atlas ระบุไว้ว่า mamma เป็นคุณลักษณะเสริมของเมฆไม่ได้เป็นประเภทหรือรูปแบบอื่นๆ 


ของเมฆ เมฆแมมมาตัสถูกสร้างขึ้นโดยอากาศเย็นที่จมลงเพื่อสร้างกระเป๋าตรงกันข้ามกับปุยเมฆที่ลอยขึ้นผ่านการหมุนเวียนของอากาศอุ่น การก่อตัวเหล่านี้ถูกอธิบายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2437 โดย William Clement Ley


เมฆแมมมาตัสบนเทือกเขาหิมาลัยเนปาล

เมฆแบบนี้ดูแล้วมันก็รู้สึกแปลกประหลาดมากๆเลยนะครับมันดูแล้วมันทำให้มีความรู้สึกหรือจินตนาการไปต่างๆนานาใช่ไหมครับเวลาคุณมองก้อนเมฆ

พญากระรอกเหลืองเป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากพญากระรอกดำพบได้ในป่าดิบในภาคใต้ของไทย


พญากระรอกเหลืองเป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากพญากระรอกดำพบได้ในป่าดิบในภาคใต้ของไทย

พญากระรอกเหลือง ในเซปิลก รัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมักมีสีคล้ำกว่าพญากระรอกเหลืองในแหล่งอื่น

พญากระรอกเหลือง ในรัฐปะหัง ประเทศมาเลเซีย

พญากระรอกเหลือง (อังกฤษ: Cream-coloured giant squirrel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ratufa affinis) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง 

เป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากพญากระรอกดำ (R. bicolor) ที่พบในประเทศไทย มีรูปร่างหน้าตาคล้ายพญากระรอกดำ แต่มีขนสีเหลืองครีมอ่อน ๆ ท้องสีขาว ขนหางสีเข้มกว่าลำตัว แก้มทั้งสองข้างมีสีเทาอ่อน หูและเท้าทั้ง 4 ข้าง 


มีสีดำ และมีขนาดเล็กกว่า โดยโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 31-36 เซนติเมตร หางยาว 37.5-41.5 เซนติเมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 0.5-1.4 กิโลกรัม มีทั้งหมด 9 ชนิดย่อย

พบได้ในป่าดิบในภาคใต้ของไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป จนถึงมาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว อาศัยและหากินบนยอดไม้สูง ไม่ค่อยลงพื้นดิน มีพฤติกรรมความเป็นอยู่และนิเวศวิทยาคล้ายพญากระรอกดำ

รายการบล็อกของฉัน