หน้าเว็บ

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ศิลา...ใน...อากาศ

ศิลา...ใน...อากาศ  (Stone ... in the air )         
เมื่องานก่อหินสมัยก่อนอินคาถูกเผยขึ้นที่โอลลันทายทัมโบ และซัคซาฮัวมัน ในเปรู น้ำหนักของหินเหล่านี้บางก้อนประมาณว่ามากกว่า 100 ตัน ไม่ว่าหินเหล่านี้จะมีมวลมากมายเพียงใดก็ตาม แท่งหินเหล่านี้อยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ที่ชัดเจนแน่นอน จนแทบจะมองรอยต่อด้วยตาเปล่าไม่เห็น ไม่มีผู้สร้างที่ใดในโลกที่จะเทียบได้กับงานสถาปัตยกรรมหินขนาดใญ่ของเปรูนี้ เว้นแต่ในอียิปต์
มหาพีระมิคูฟู
มหาพีระมิด หรือพีระมิดคูฟูแห่งอียิปต์ เป็นหนึ่งในงานก่อสร้างที่มีความละเอียดแม่นยำมากที่สุด ผู้สร้างจะต้องมีความรู้ในทางสถาปัตยกรรมและเรขาคณิตขั้นสูง กล่าวกันว่า กาลเวลาหัวเราเยาะทุกสิ่งทุกอย่าง แต่พีระมิดหัวเราะเยาะกาลเวลา
           
หินขัดน้ำหนัก 15 ตัน ที่ฐานพีระมิดคูฟูนั้น มีขนาดที่เท่ากัน มีความแม่นยำในระดับ 1 ใน 100 ของนิ้ว กระดาษแผ่นบาง ๆ แทบจะสอดเข้าไประหว่างแท่งหินเหล่านี้ไม่ได้เลย ก่อนศตวรรษแห่งเทคโนโลยีปัจจุบัน ไม่มีชาติใดในประวัติศาสตร์ที่สามารถจำลองความละเอียดแม่นยำนี้ หากเรายอมรับการคำนวณเวลาสร้างมหาพีระมิดตามนักอียิปต์ศึกษาแล้ว สิ่งก่อสร้างนี้ซึ่งยังคงสูงที่สุดในโลกจนบัดนี้ ถือว่าก่อสร้างขึ้นในยุคเมื่อไม่มีปั้นจั่น หรือแม้แต่การใช้ล้อ เวลาเพียงหนึ่งศตวรรษก่อนเริ่มงานพีระมิด ชาวอียิปต์ยังคงก่อสร้างด้วยอิฐดินอยู่ ดังนั้นเราจะเชื่อหรือว่าในหนึ่งศตวรรษชาวอียิปต์โบราณจะมีความก้าวหน้าอย่างเด่นชัด โดยใช้เวลาเพียงยี่สิบปี ก็สามารถสร้างอาคารศิลาที่สูงที่สุดจนถึงศตวรรษนี้สำเร็จ
           
คำถามที่ว่าพีระมิดคูฟูนั้นสร้างขึ้นมาอย่างไร ยังไม่มีการอธิบายไว้อย่างน่าพอใจ ไดโอโดรุส ซิคูลุส เขียนไว้ว่า มีการใช้คนสร้าง 360,000 คน ในเวลายี่สิบปี ส่วนฮีโรโดตัสบอกว่าใช้คน 100,000 คนในเวลายี่สิบปี
           
จากนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก กล่าวว่างานที่ใช้คนงานมากขนาดนี้ ทำให้ฟาโรห์คีออปส์ หรือคูฟูต้องเสียชื่อเสียงอย่างสิ้นเชิง จากนั้นฟาโรห์ผู้โหดร้ายพาพระราชธิดาผู้ทรงเสน่ห์จากพระราชวังไปค้าทางเพศ อย่างไรก็ตาม หญิงสาวผู้นี้ต้องทำงานอย่างดีที่สุด เพราะ นางมิเพียงแต่จะได้รับทำตามพระราชโองการเท่านั้น หากยังตั้งใจจะสร้างอนุสรณ์ไว้เบื้องลัง ขอให้แขกแต่ละคน มอบศิลาแก่นางคนละก้อน เพื่อใช้ทำงานนี้ไปทำงาน
           
คงจะยากที่จะให้ยอมรับเรื่องเช่นนี้เป็นประวัติศาสตร์ ฮีโรโดตัสถูกนักบวชนักวิทยาศาสตร์ชาวอียิปต์ชักนำให้หลงผิด เพื่อปิดบังจุดมายที่แท้จริงของสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่นี้
เมื่อมีการวัดขนาดมหาพีระมิดในศตวรรษที่สิบเก้า ก็ทราบว่ามุมระหว่างด้านกับระนาบบนฐานนั้นเป็น 51 องศา 51 ลิปดา ถึง 51 องศา 52 ลิปดา เมื่อไม่มีเสาลักของพีระมิด ความสูงของสิ่งก่อสร้างนี้จึงหาได้จากวิธีการทางตรีโกณมิติ จากการคำนวณ โดยใช้เส้นรอบฐานหารด้วยความยาวสองเท่าของความสูง ก็จะได้ผลลัพธ์ที่น่าตื่นเต้น นั่นคือเท่ากับ 3.141449 หรือค่า PI นั่นเอง
         
ระยะทางโดยเฉลี่ยจากโลกไปยังดวงอาทิตย์ประมาณ 149.5 ล้านกิโลเมตร ความสูงของพีระมิดคีออปส์เป็น 147.8 เมตร หรือระยะ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (ระยะจากโลกไปยังดวงอาทิตย์) หารด้วย 1 พันล้าน โดยมีความคลาดเคลื่อน 1 เปอร์เซนต์เท่านั้น
           
หน่วยความยามที่ใช้ในการสร้างพีระมิดนั้น เป็นกิวบิตพีระมิด เท่ากับ 635.66 มิลลิเมตร รัศมีของโลกจากศูนย์กลางไปยังขั้วโลกเท่ากับ 6,357 กิโลเมตร หรือกิวบิตพีระมิดหารด้วย 10 ล้าน เมื่อปลายศตวรรษที่สิบแปด 1 เมตรมาตรฐานได้จากค่า 1 ใน 140 ล้านของเส้นรอบโลก ณ กรุงปารีส หลังจากใช้เครื่องมือที่ละเอียดยิ่งขึ้นในศตวรรษนี้ ก็พบว่าค่าเมตรดังกล่าวมีความผิดพลาด ในขณะที่กิวบิตของอียิปต์เท่ากับ 10 ใน 10 ล้านของรัศมีโลก โดยมีความผิดพลาดเพียง 1 ใน 100 ของมิลลิเมตร        
มหาพีระมิคูฟู
ความยาวของฐานพีระมิดด้านหนึ่งเท่ากับ 365.25 กิวบิต แต่ก็มีวัน 365.25 วันในหนึ่งปี อันเป็นความบังเอิญอย่างน่าประหลาดระหว่างสัดส่วนของพีระมิดกับข้อมูลทางดาราศาสตร์ ดูเหมือนว่าเราจะต้องเสาะหาแบบพิมพ์เขียงของมหาพีระมิดในแอตแลนติสเป็นแน่
           
หลังจากศึกษามิติทางเรขาคณิตของพีระมิดคูฟูเป็นเวลานาน เอ.เค. อะบรามอฟ วิศวกรชาวมอสโกก็สรุปว่า พีระมิดมีคำตอบแก่ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในเรื่องการวาดสี่เหลี่ยมจากวงกลม เขาเชื่อว่าชาวอียิปต์โบราณจัดการกับเรื่องนี้ โดยใช้ระบบเลข 7 ในการกำหนดค่า PI เป็นค่า 22/7 นอกจากนี้ เขายังค้นพบว่าชาวอียิปต์ใช้ค่าเรเดียนหรือ PI/6 เป็นหน่วยพื้นฐานการวัด
             
ในการสัมภาษณ์ที่มอสโก เอ.เค. อะบรามอฟกล่าวกับผู้เขียนว่า เราจำเป็นต้องพิจารณาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ซึ่งกำหนดภาพปรากฏของสัดส่วนวงกลมในการปฏิบัติจริง ให้เราลองนึกย้อนไปในอดีต 4,500 ปี จนถึงสมัยการสร้างมหาพีระมิด เคยมีความคิดอย่างมีเหตุผลในข้อเท็จจริงทางวัตถุมากมาย และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของเส้นรอบวงกับเส้นผ่าศูนย์กลาง นั่นคือ 22/7 ในระบบเลข 7 ในเวลาเดียวกันนี้ ก็มีการค้นพบความจริงอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน ในจำนวนนี้ได้แก่การยืดเส้นรอบวง ส่วนทั้งสามของมุม การทวีคูณของลูกบาศก์ โดยไม่ปรับเปลี่ยนรูปแบบ การแปลงปริมาตรของลูกบาศก์ไปเป็นปริมาตรของวงกลม ฯลฯ นี่เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏในธรรมชาติ และข้อเท็จจริงที่ค้นพบนั้น บรรจุอยู่ในความเป็นจริงทางวัตถุ อย่างไรก็ตาม ยังมีการยืนยันว่า พีระมิดคูฟูนั้น สร้างจากมิติของพีระมิดที่บ่งค่าเป็นเรเดียน ความเท่ากันนี้ของเส้นรอบรูปสี่เหลี่ยมทั้งสี่ของพีระมิดคูฟู สมการที่สองเป็นเส้นรอบวง เมื่อใช้รัศมีเท่ากับความสูงของพีระมิด (2PIr)
440 X 4 = 1760
2 X (22/7) X 280 = 1760 (1 เรเดียน = PI/6 = 0.5238095)
           
อะบรามอฟกล่าวว่า นักบวชอียิปต์โบราณใช้แนวคิดที่แปลก ในเรื่องมิติทั้งสามของอวกาศ สำรับพวกเขาแล้ว จุดก็คือจุดเริ่มต้นของทิศทางทั้งสาม คือ ความยาว ความกว้าง และความหนา
           
อะบรามอฟกล่าวต่อว่า พีธากอรัสสามารถรับรู้ถึงความมั่งคั่งของศาสตร์แห่งเรขาคณิต ซึ่งอยู่เบื้องหน้าเขา ขณะไปเยือนอียิปต์ ความรู้ของชาวอียิปต์นั้นยิ่งใหญ่มาก เป็นที่มาของปริศนาสำคัญ นั่นก็คือศาสตร์อันล้ำลึกนั้นมียั่งยืนมาตลอดยุคสมัย เพื่อเผยถึงปัญญาของผู้สร้าง
             
นักคณิตศาสตร์อาจจะกล่าวว่า ขอให้พีระมิดทั้งปวงจะแหลกเป็นผง อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องง่ายมากที่จะพิสูจน์ว่าเราไปถึงจุดสุดยอดของอารยธรรม และไม่มีใครในอดีตจะมีความชาญฉลาดยิ่งกว่ามนุษย์ในทุกวันนี้โลบาคอฟสกี้ได้แสดงถึงความเป็นสากลของเรขาคณิตอวกาศ ศาสตร์อันยิ่งใหญ่นี้ถูกนำไปยังดินแดนแห่งอียิปต์ด้วยวิธีการบางประการ แต่ใครเป็นผู้นำไปเล่า และนำมาจากที่ใด หาก บุตรพระอาทิตย์ ผู้ให้กำเนิดเป็นผู้รับวัฒนธรรมจากอวกาศแล้ว ปริศนามากมายก็ถูกไขออก ศาสตร์สากลแห่งเรขาคณิตได้พิสูจน์ว่า ชีวิตบนโลกอื่นนั้นอาจจะมีปรากฏมาก่อน แต่ก็เป็นไปตามรูปแบบเดิมในขอบข่ายความรู้เช่นบนโลกนี้
              
อารยธรรมอวกาศอื่น ๆ อาจจะได้เรียนรู้ว่าจะผลิตพลังงานจากวิธีต่าง ๆ ได้อย่างไร พวกเขาอาจจะเปลี่ยนแสงไปเป็นพลังงานขับเคลื่อน โดยปราศจากเครื่องเร่งใด ๆ เลยก็ได้ ในกรณีนั้นพวกเขาอาจจะมียานอวกาศที่สร้างออกมาแปลกกว่าที่เราสร้างในทุกวันนี้ก็ได้ เอ.เค. อะบรามอฟสรุป
             
เมื่อถกเถียงถึงท้ายสุด ผู้เขียนก็นึกถึงเรื่องเกี่ยวกับไอน์สไตน์ เมื่อมีคนถามว่า การค้นพบเกิดขึ้นได้อย่างไร? ไอน์สไตน์ก็ตอบว่า เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดในปัจจุบันต่างเห็นพ้องว่ามีบางสิ่งเป็นไปไม่ได้ การจะก้าวไปแก้ปัญหาสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ไปนั้น ก็สายเสียแล้ว
             
ยิ่งมีการศึกษาพีระมิดมาขึ้น ก็ยิ่งให้ความรู้สึกว่าเผ่าพงศ์ของยักษ์วิทยาศาสตร์เป็นผู้สร้าง            
ยังมีเรื่องหนึ่งเล่าว่า อนุสาวรีย์ศิลาขนาดใหญ่มโหฬารนี้ สร้างขึ้นด้วยการสั่นสะเทือนของเสียง ทำให้ลดแรงโน้มถ่วง เนื่องจากสาเหตุบางอย่าง อาจจะด้วยเวทมนต์ ดนตรี และแท่งแม่เหล็ก ซึ่งจะช่วยยกหินขึ้นไปในอากาศได้ นี่คือความเป็นไปได้ในเรื่องเพ้อฝัน ที่ควรจะเกิดขึ้นในยุคการบินอวกาศเท่านั้น
           
ชาวอาหรับมีตำนานที่น่าสนใจเรื่องการสร้างพีระมิดคูฟู พวกเขาวางแผ่นปาปิรัสที่เขียนความลับมากมายไว้ใต้ศิลา และยึดด้วยแท่งวัตถุ จากนั้นก็ยกสู่อากาศในระยะยิงลูกศรถึง ด้วยวิธีนี้ ท้ายสุดพวกเขาก็ก้าวถึงพีระมิดได้ คนโบราณจะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องแรงผลักมากพอกับแรงดึงดูด แต่ศาสตร์ของพวกเขา แนวทางในการแสวงหาพลังงานและสสารต่างกัน      
แท่งหินในบาลเบก เทอร์เรส
แท่งหินในบาลเบก เทอร์เรสในเลบานอน หนักมากกว่าหินในมหาพีระมิด 50 ถึง 100 เท่า แม้แต่ปั้นจั่นขนาดยักษ์ในทุกวันนี้ก็ไม่อาจยกหินเหล่านี้จากเชิงเขาไปบนยอดแบนราบได้เลย แล้วยักษ์ตนใดเล่าที่สร้างอาคารหินขนาดใหญ่เหล่านี้ในเลบานอน อียิปต์ และเปรู
             
ฟรองซัว เลนอร์มองเขียนเรื่องนครเวทมนต์คาลเดียน อันเป็นตำนานเกี่ยวกับนักบวชแห่งโอน ผู้ยกหินก้อนมหึมาขึ้นได้ด้วยเสียง ที่ปกติใช้คนสักพันก็ไม่อาจทำให้เขยื้อนได้ นี้เป็นเพียงเรื่องปรัมปรา หรือเป็นความทรงจำพื้นบ้านเรื่องความประทับใจกับศาสตร์ที่หายไปกันแน่
           
ลูเซียน (ค.ศ.155) พิสูจน์ความเป็นจริงของแรงต้านแรงโน้มถ่วง ในประวัติศาสตร์โบราณ เมื่อเขาเขียนเกี่ยวกับภาพของอะพอลโล่ ในอารามไฮราโพลิส เมื่อนักบวชพระผู้เป็นเจ้า เทพอะพอลโล ก็ปล่อยพวกเขาลงบนพื้น และลอยไปตัวคนเดียว เรื่องนี้ปรากฏในสมัยของลูเซียนเอง        
ศิลาลอยได้ในเมือง ปูนา
มีคนไม่กี่คนที่รู้ว่าความประทับใจของคนโบราณ ในสิ่งที่อาจจะเรียกได้ว่า ศาสตร์สมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้น เกิดขึ้นแม้กระทั่งในทุกวันนี้ ที่ใกล้กับเมืองปูนา ทางตะวันตกของประเทศอินเดีย มีหมูบ้านศิวะปุระ ติดถนนสัตระ มีมัสยิดเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง สร้างอุทิศแก่ คามาร์ อาลี เดอร์วิส นักบุญ ซูฟี ด้านหน้าของมัสยิดมีเนินทรงกลมขนาดใหญ่สองที่ หินแกรนิตแท่งใหญ่หนัก 120 ปอนด์ และแท่งเล็ก 90 ปอนด์
           
กลุ่มผู้แสวงบุญประจำวัน และผู้มาเที่ยวยืนอยู่รอบหินก้อนหนึ่ง พลางท่องชื่อของ คามาร์ อาลี เดอร์วิส เสียงแหลมใสและดัง ขณะเดียวกันก็ใช้นิ้วเท้าขวาแตะก้อนหินนั้น ด้วยเหตุผลบางอย่าง จึงกำหนดให้คนเพียงสิบเอ็ดคนมาล้อมรอบหินก้อนใหญ่ ในทันใด หินนั้นก็ยกตัวขึ้น ไร้น้ำหนักขึ้นมาทันที ภายในไม่กี่วินาที ก็ยกตัวสูง 6 ฟุต และลอยอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะตกลงพื้นดังสนั่น สิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับหินอีกก้อน แต่ใช้คนล้อมรอบเก้าคน
ศิลาลอยได้ในเมือง ปูนา
ปรากฏการณ์แปลกประหลาดนี้ ปรากฏหลายครั้งในหนึ่งวัน เป็นที่น่าพิศวงสุดจะพรรณนาได้ สำหรับผู้ร่วมพิธีหรือเฝ้าดู ปกติแล้วจะต้องใช้คนหกคน เพื่อแบกหินแกรนิตก้อนใหญ่ด้วยปากคีบที่แข็งแรง และต้องมีการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่หนักแน่นเพียงพอ เกี่ยวกับการยกหินนี้ เพราะทุกคนสามารถเป็นผู้ร่วมยกหินนี้ ไม่ว่าชาวมุสลิม พุทธ พราหมณ์ คริสต์ หรือลัทธิอื่น ๆ ผู้คนต่าง ๆ กันที่มาร่วมพิธีนี้ในแต่ละวัน ไม่อาจบอกได้เลยว่า สิ่งดังกล่าวสำเร็จลงได้อย่างไร
           
อย่างไรก็ตาม ยังมีความจริงอยู่ว่า หินหนักที่ยกสูงขึ้นไปในอากาศ 6 ฟุต ค้านกับหลักทั้งปวงทางฟิสิกส์ในยุคอวกาศเช่นนี้ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ผู้ปราดเปรื่องพยายามจะไขความลับของแรงโน้มถ่วงนี้ ปรากฏการณ์แปลกประหลาดดังกล่าวควรจะมีผู้สืบค้นอย่างจริงจัง ไม่ว่าคลื่นเสียงจากการสวดอย่างมีจังหวะจะโคน กระแสชีวิตจากปลายนิ้วมือ หรือผลร่วมกันที่ลดแรงโน้มถ่วงจากก้อนหินนี้ ต่างเป็นสิ่งที่ควรจะคาดคิดถึง อย่างไรก็ตาม หากคำว่า คามาร์ อาลี เดอร์วิส ไม่ดังชัดเจนแล้ว หินนั้นจะไม่ยกตัวขึ้น
             
ความน่าอัศจรรย์เรื่องนี้ของอินเดีย สามารถเป็นตัวอย่างของวิธีการสร้างงานหินและพีระมิดในยุคเก่าแก่ได้

รายการบล็อกของฉัน