หน้าเว็บ

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2563

ตะลึงสมาร์ทโฟนลึกลับไปโผล่ในภาพเขียนอายุ เกือบร้อยปี


Custom Search
รูปพิศวง! เมื่อ ‘สมาร์ทโฟน’ ไปโผล่ในภาพเขียนอายุ เกือบร้อยปี หรือนี่อาจเป็นหลักฐานยืนยันทฤษฎีการเดินทางข้ามเวลา

หลายปีที่ผ่านมามีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญหลายแขนง ออกมาระบุว่า ทฤษฎีการเดินทางข้ามเวลานั้น อาจเป็นจริงได้ในอนาคต และตอนนี้มันอาจเกิดขึ้นจริงแล้ว ณ ที่ใดที่หนึ่งในอวกาศ แน่นอนว่าทั้งหมดนี้เป็นเพียงการตั้งทฤษฎี ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า การเดินทางข้ามเวลา เกิดขึ้นได้จริงหรือไม่?

โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการเปิดเผยภาพเขียนที่มีชื่อว่า “Mr. Pynchon and the Settling of Springfield” ซึ่งเป็นภาพเขียนที่ถูดวาดขึ้นในปี 1937 โดย Umberto Romano ศิลปินชาวอิตาลี ภาพวาดดังกล่าวได้กล่าวถึง “William Pynchon” (ชายเสื้อชมพู) บุคคลที่เป็นที่รู้จักกันในฐานะนักล่าอาณานิคมแห่งศตวรรษที่ 17

โดย William Pynchon มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่าเป็นผู้ก่อตั้ง เมืองสปริงฟีลด์ และ รัฐแมสซาชูเซตส์ ของสหรัฐอเมริกา นอกจากในภาพที่เราจะได้เห็น William Pynchon แล้ว ยังมีกลุ่มคนที่แต่งกายด้วยชุดหลากสี ที่คาดว่าเป็นคณะติดตามของ William Pynchon และยังมีกลุ่ม คนที่เป็นชนเผ่าถืออะไรบางอย่างอยู่ในภาพเขียนนี้อีกด้วย

แน่นอนว่าภาพนี้อาจเป็นเพียงภาพเขียนธรรมดา ที่บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคนั้น แต่หากลองพิจารณาให้ดีจะพบว่าภายในภาพนี้มีอะไรบางอย่างที่ผิดแปลกไป สังเกตได้จากผู้ชายชนเผ่า ที่นั่งอยู่ในถังใส่อุปกรณ์อะไรบางอย่าง ที่มือของเขาคล้ายกับกำลังถือ “สมาร์ทโฟน” โดยจะเห็นได้ว่าลักษณะในการถือนั้นเหมือนกับการถือสมาร์ทโฟนของคนในยุคสมัยปัจจุบันไม่มีผิด

เป็นไปได้ไหมที่ Umberto Romano ศิลปินผู้วาดภาพดังกล่าว อาจเคยเดินทางข้ามเวลามาในยุคปัจจุบัน ก่อนที่จะวาดภาพนี้ขึ้นมา? เพราะในปี 1937 ที่เขาได้วาดภาพนี้ขึ้นมา สมาร์ทโฟน ยังไม่ถือกำเนิดเลยด้วยซ้ำ เนื่องจากสมาร์ทโฟนเพิ่งถูกคิดค้นและใช้งานอย่างแพร่หลายในศตวรรษที่ 21 นี้เอง ยิ่งไปกว่านั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพวาด ยังเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 หรือเมื่อกว่า 400 ปีที่ผ่านมา หรือนี่จะเป็นหลักฐานยืนยัน “ทฤษฎีการเดินทางข้ามเวลา”ว่ามันได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต

อย่างไรก็ดีผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้ออกมาอธิบายว่า “แท้จริงแล้ววัตถุที่มีลักษณะคล้ายกับสมาร์ทโฟน อย่างที่หลายคนเข้าใจเป็นเพียง “กระจกเงา” ซึ่งได้รับความนิยมในยุคสมัยนั้นพอดี
ผู้วาดอาจต้องการสื่อสารว่า William Pynchon เดินทางมาเจอกับชนเผ่าพื้นเมือง พร้อมกับข้าวของเครื่องใช้ ที่ชนเผ่าพื้นเมืองไม่เคยพบเห็นมาก่อน หนึ่งในนั้นอาจมีกระจกเงาอยู่ด้วย แน่นอนว่าชนเผ่าพื้นเมืองไม่เคยเห็นกระจกเงามาก่อน จึงแสดงอาการอย่างที่เห็นในภาพ ซึ่งดูคล้ายกับกำลังพิจารณาสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในชีวิตนั้นเอง”

แน่นอนว่ากลุ่มคนที่เชื่อเกี่ยวกับทฤษฎีการเดินทางข้ามเวลา ต่างเชื่อว่านี่อาจเป็นหลักฐานที่ระบุว่า การเดินทางข้ามเวลาได้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ขัดแย้งกับฝั่งผู้เชี่ยวชาญที่ระบุว่า สิ่งที่เห็นเป็นเพียงกระจกเงา ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับการเดินทางข้ามเวลาเลยซักนิด ในเมื่อมันไม่สามารถพิสูจน์ได้ 

ภาพวาด “Mr. Pynchon and the Settling of Springfield” จึงกลายเป็นปริศนาที่ให้แต่ละฝ่ายตีความกันไปเอง และมันก็คงเป็นปริศนาต่อไป เพราะเรื่องของการเดินทางข้ามเวลานั้นยังหาข้อสรุปไม่ได้
Mr. Pynchon and the Settling of Springfield

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563

เรื่องน่าเศร้าแอตแลนติส


เรื่องน่าเศร้าของแอตแลนติส
ค้นหา
Custom Search

เทวีไนธ์แห่งไซส์กล่าวถึงแอตแลนติสหากเราย้อนไปยังวรรณกรรม เรื่องปรัมปรา และเรื่อพื้นบ้านโบราณ แอตแลนติสก็มีความเป็นไปได้ในทางประวัติศาสตร์
           
เรื่อง ทิไมอุส และ คริทิอัส ของเพลโต มีเรื่องพงศาวดารของแอตแลนติสอยู่ เรื่องนี้ได้มาจาก โซลอน นักบัญญัติกฎหมายของกรีกโบราณ ผู้เดินทางไปอียิปต์เมื่อประมาณ 560 ปี ก่อนคริสตกาลวิทยาลัยสงฆ์เทวีไนธ์แห่งไซส์ เทพเจ้าแห่งการเรียนรู้ ได้เปิดเผยแก่โซลอนว่า เอกสารสำคัญแห่งวิทยาลัยนั้นมีอายุนับพัน ๆ ปี บันทึกเหล่านี้กล่าวถึงทวีปที่อยู่ไกลโพ้นจากเสาเฮาคิวลิส หรือช่องแคบยิบรอลตาร์ ซึ่งจมลงเมื่อประมาณ 9,560 ปีก่อนคริสตกาล
           
เพลโตมิได้สับสนเรื่องแอตแลนติสกับอเมริกา เพราะเพลโตกล่าวอย่างชัดเจนว่า มีทวีปทางตะวันตกของแอตแลนติส เขากล่าวถึงมหาสมุทรไกลโพ้นจากช่องแคบยิบรอลตาร์ และเรียกเมดิเตอร์เรเนียนว่า “เป็นเพียงท่าเรือใหญ่” และระบุถึงทวีปในมหาสมุทรนั้น เป็นเกาะมีขนาดใหญ่กว่าประเทศลิเบียและเอเชียไมเนอร์รวมกัน
             
มีที่ราบแห้งแล้งในใจกลางของเกาะแอตแลนติส มีภูเขาสูงกั้นขวางลมทางเหนือ สภาพอากาศที่นั้นเป็นแบบกึ่งเขตร้อน ชาวแอตแลนติสเก็บเกี่ยวพืชผลปีละสองครั้ง ประเทศดังกล่าวมั่งคั่งด้วยสินแร่ โลหะ และผลผลิตทางการเกษตร ส่วนอุตสาหกรรม การฝีมือ และวิทยาศาสตร์นั้น ปรากฏรุ่งเรืองในแอตแลนติส นอกจากนี้ยังมีท่าเรือใหญ่มากมาย มีอู่ต่อเรือ และคลอง เพลโตระบุถึงการติดต่อทางการค้ากับโลกภายนอก โดยกล่าวถึงการใช้เรือเดินสมุทร
             
ชาวแอตแลนติสร้างอาคารของตนด้วยศิลาสีดำ ขาว และแดง อารามไคลโท และโพไซดอนนั้น มีรั้วทองล้อมรอบ ส่วนกำแพงทำด้วยเงิน และอาคารประดับแต่งด้วยสิ่งประดับทองทำ มีกษัตริย์แห่งแอตแลนติสสิบพระองค์ คอยร่วมประชุม
       
จากพื้นฐานข้อมูลของเพลโตกล่าวว่า มีกำลังกองทัพบกและกองทัพเรือทั้งสิ้น 1,210,000 คน ตัวเลขนี้บ่งชี้ได้ว่าประชากรทั้งหมดจะต้องมีจำนวนหลายล้านทีเดียว ในช่วงยุคสุดท้ายของประวัติศาสตร์แอตแลนติสที่เพลโตกล่าวนั้น ชาติดังกล่าวถูกปกครองโดยทายาทแห่งโพไซดอน เวลาไม่นานก่อนถึงจุดสิ้นสุดจักรวรรดิแอตแลนติสก็เข้าสู่วิถึแห่งจักรวรรดินิยา ด้วยความมุ่งมั่นที่จะขยยอาณานิคมในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน    
อย่างไรก็ตาม จากเรื่องของเพลโตปรากฏว่า ในยุคต้น ๆ ชาวแอตแลนติสมีความรู้และความสุภาพนุ่มนวล เพลโตระบุว่า “พวกเขาเหยียดหยามทุกสิ่งเว้นแต่ศีลธรรม” พวกเขามีความคิด “ในเรื่องการครอบครองทองคำและทรัพย์สินอื่น ๆ อย่างไม่ถาวร เพราะสมบัติเหล่านั้นดูเหมือนจะเป็นภาระ พวกเขาไม่มัวเมาในความมั่งคั่ง ทั้งความร่ำรวยก็ไม่อาจฉุดพาพวกเขาให้ละเลยการควบคุมตัวเองได้เลย” ชาวแอตแลนติสทะนุถนอมมิตรภาพยิ่งกว่าความมั่งมีทางโลก การไม่นิยมมีทรัพย์สินส่วนตัว และการสมาคมของแอตแลนติส เป็นเพราะพวกเขามีระบบสังคมนิยมในสมัยอดีตอันไกลโพ้นใช่หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น การมีระบบเศรษฐกิจแบบไร้เงินตราในดินแดนแห่งอินคา จะเป็นเพียงธรรมชาติ เช่นเดียวกับในเปรู นับว่ามีความเป็นไปได้อย่างมาก หากจะถือเป็นส่วน เสี้ยวหนึ่งจากแอตแลนติส 

จากเรื่อง จอร์จิกส์ ของ เวอร์กิล และ เอเลจีส์ ของทิบุลลัส กล่าวว่า ดินแดนในสมัยโบราณนั้นถูกยึดเป็นของส่วนรวม ความทรงจำเรื่องประชาธิปไตยในวัฏจักรสมัยก่อนนั้น ดำรงอยู่อย่างเป็นอมตะทั้งในกรีกและโรมโบราณ ในเทศกาลการโครเนีย และซาเทอร์นาเลีย เมื่อนายและทาสดื่มและเต้นรำด้วยกันในวันนั้น บทกลอนของอุตตูของซูเมอร์และเอนจุดูที่มีอายุได้ 5,000 ปี ได้กล่าวถึงความเศร้าอาดูรถึงระบบสังคมที่สูญไป ในระบบนั้น “ไม่มีคนโกหก ไม่มีความเจ็บไข้ ไร้ความแก่เฒ่า”
           
เพลโตเล่าเรื่องการเสื่อมศีลธรรมของชาวแอตแลนติส เมื่อความโลภและความเห็นแก่ตัวเข้ามาครอบงำ ดังนั้นเทพเซอุส “รับรู้ว่าเผ่าพงศ์ที่น่านับถือ กำลังอยู่ในสภาพที่น่าสมเพชเป็นที่สุด” และพวกเขา “รุกรานไปทั่วยุโรปและเอเชียอย่างกำเริบเสิบสาน สร้างความเสียหายแก่ผู้ถูกรุกรานอย่างรุนแรง” นักปรัชญาชาวกรีกท่านนั้นกล่าวว่า “มนุษย์ผู้กระหายสงครามนี้ได้จมลงสู่พื้นปฐพี และเกาะแอตแลนติสก็จมหายไปใต้ท้องทะเลเช่นกัน”
การตรวจสอบท้องมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เราทราบว่ามีแนวตรงจากเหนือไปใต้ ผ่านบริเวณตอนกลางของมหาสมุทร หมูเกาะอะโซเรสอาจจะเป็นยอดของเทือกเขาที่จมลง ซึ่งจากเรื่องของเพลโต บอกว่ายอดเขานั้นคอยกำบังลมหนาวจากทิศเหนือ ที่จะพัดสู่ที่ราบตอนกลาง จากเรื่องคริทิอัส เราทราบว่าชาวแอตแลนติสสร้างบ้านเรือนด้วยศิลาสีแดง ดำ และขาว หินภูเขาไฟสีแดงและดำ และพื้นหินปูนสีขาวพบได้บนหมู่เกาะอะโซเรส อันเป็นซากเก่าของแอตแลนติส      

เนื่องจากเกรงว่าผู้มีอ่านในอนาคตจะสงสัย เพลโตจึงยืนยันแก่เราว่าเรื่องนี้ “แปลก แต่จริงแท้อย่างแน่นอน” ทุกวันนี้เรื่องเล่าของเพลโตเป็นที่ยอมรับและเลื่อมใสจากวงการวิทยาศาสตร์มากขึ้น          
จากปัญหาเรื่องแอตแลนติส นับว่าไม่เกินไปนักที่กล่าวถึงทฤษฎีทวีปจมของศาสตราจารย์อัลเฟรด เวเกเนอรฅ์ ซึ่งคาดว่าเมื่อ 225 ล้านปีก่อน ทวีปทั้งปวงอยู่ติดกัน รูปร่างของทวีปอเมริกาและโครงร่างของยุโรปและแอฟริกาก็เข้ากันได้พอดี
           
ทฤษฎีนี้มิได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ของการมีทวีปแอตแลนติส เมื่อ 12,000 ปี ก่อน เพราะเหตุผลง่าย ๆ ที่ว่า กว่าทวีปจะจมนั้น ใช้เวลานับล้าน ๆ ปี และในยุคที่แอตแลนติสจมลง ยุโรปและอเมริกาอยู่ใกล้กันมากกว่านี้ เพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น จึงมีที่ว่างอีกมากมาย สำหรับเกาะแอตแลนติสในมหาสมุทรแอตแลนติกในสมัยนั้น
อีกทฤษฎีหนึ่งที่ไม่ควรจะมองข้าม นั่นคือความเห็นของศาสตราจารย์กาลาโนเปาโลส ที่ว่าเกาะธีรา-ซานโทรินเป็นที่ตั้งของแอตแลนติสของเพลโต เกาะนี้อยู่ทะเลอีเจียน แล้วหายไปด้วยภัยพิบัติทางธรณีวิทยาเมื่อประมาณ 1,400 ปี ก่อนคริสตกาลเพลโตได้รับทฤษฎีเรื่องแอตแลนติสโดยทางอ้อมจากโซลอน นักรัฐศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ และผู้ร่ำรวยแห่งกรีกโบราณ จากเรื่องของโซลอน กล่าวว่าแอตแลนตินจมหายไป 9,000 ปี ก่อนเขาเดินทางไปอียิปต์ นั่นคือเมื่อ 9,560 ปีก่อนคริสตกาล         
แผนที่แอตแลนติสตาจินตนาการ ทิศเหนืออยู่ด้านล่าง

อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์กาลาโนเปาโลสคิดว่าโซลอน เศรษฐีแห่งยุคโบราณท่านนี้ คงไม่ได้คำนวณอย่างละเอียด “ไม่ใช่เวลา 9,000 ปี แต่เป็น 900 ปี” เขาบอก เมื่อบวก 900 กับ 560 ปีก่อนคริสตกาล อันเป็นเวลาที่โซลอนเดินทางไปอียิปต์ ก็จะได้เวลา 1,460 ปีก่อนคริสตกาล หรือสมัยน้ำท่วมของซานโทริน เขาเชื่อว่าซานโทรินก็คือ แอตแลนติส แต่สมมุติฐานนี้ยังอ่อนไป        
ภาพวาดที่ผนัง วาดเมืองและท่าเรือจากเกาะธีรา หรือซานโทริน ที่เกิดภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณศตวรรษที่ 15
 ก่อนคริสตกาล
(ภาพวาดอายุประมาณ 16 ศตวรรษก่อนคริสตกาล)
อเพลโตเขียนไว้ในเรื่อง ทิไมอุส “ในสมัยนั้น มหาสมุทรแอตแลนติกพอจะแล่นเรือได้จากเกาะที่อยู่ทางตะวันตกของช่องแคบที่เราเรียกกันว่า เสาเฮอร์คิวลิส (ช่องแคบยิบรอลตาร์-โทมัส) เกาะนี้มีขนาดใหญ่กว่าลิเบีย และตะวันออกกลาง”
เพลโตเรียกแอตแลนติกว่า “มหาสมุทรจริง” เขาไม่ได้หมายถึงทะเลอีเจียนอย่างแน่นอน  

แอตแลนติสของเพลโตนั้น มีพื้นที่ประมาณ 600,000 ตารางไมล์ แอตแลนติส-ซานโทรินของศาสตราจารย์กาลาโนเปาโลสนั้น มีขนาดเพียง 75 ตารางไมล์เท่านั้น เพลโตเขียนถึงเจ้าครองนครสิบคนแอตแลนติส แต่จังหวัดตั้งสิบจังหวัดจะอยู่ในซานโทรินได้อย่างไร

ค้นพบ สุสานชนชั้นสูง และ ราชินีที่โลกไม่เคยรู้จัก อายุ 4,300 ปี


ค้นพบ สุสานชนชั้นสูง และ ราชินี
ที่โลกไม่เคยรู้จัก อายุ 4,300 ปี 
ค้นหา
Custom Search
ทางด้านกระทรวงโบราณวัตถุของอียิปต์ ได้ออกมาประกาศ การค้นพบครั้งใหม่ล่าสุดของประเทศ ที่ทางทีมสำรวจได้พบเจอ 

โดยการค้นพบครั้งนี้คือ สุสานโบราณของชนชั้นสูงชาวอียิปต์ ที่คาดว่าน่าจะมีอายุมากกว่า 4,300 ปี
สุสานที่ค้นพบในครั้งนี้เป็นรูปตัว L โดยสร้างขึ้นจากหินปูน โดยสุสานนี้ถือว่ามีความสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ดดยภาพบนฝาผนังเป็นภาพของชาวอียิปต์โบราณที่กำลังสังหารวัว และตัดแบ่งเป็นชิ้นๆ

โดยจากการตรวจสอบทั้งด้านตัวอักษร และการใช้สีของภาพบนฝาผนัง เชื่อว่าน่าจะเป็น กลุ่มชาวอียิปต์ชื่อ Khuwy ช่วงราชวงศ์อียิปต์ที่ 5 หรือประมาณ 2388-2356 ปีก่อนคริสตกาล

ซึ่งในการค้นพบสุสานครั้งนี้ ทางด้านนักโบราณคดี ถถือว่าเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ เนื่องจากเขาได้พบกับ ราชินีชื่อ Sebtihor 

ซึ่งเป็นราชินีที่ไม่เคยมีใครรู้จัก แต่ที่นักโบราณคดีรู้จักเธอในครั้งนี้ก็จาก จารึกบนหินแกรนิตในตัวสุสาน ซึ่งบรรยายตัวเธอไว้อย่าละเอียดในสุสาน ว่าเธอเป็นภรรยาของฟาโรห์ Djedkare Isesi 


ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ อาจเป็นการไขปริศนาครั้งใหญ่ เนื่องจากมีสุสานประหลาดในพื้นที่ใกล้ๆ พีระมิดของฟาโรห์ เป้นจำนวนมากที่ยังไม่ถูกไขปริศนา แต่ครั้งนี้จะเป็นการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์นั่นเอง

เปิดหลุมฝังศพพระเยซูคริสต์เป็นครั้งแรกในรอบหลายร้อยปี


เปิดหลุมฝังศพพระเยซูคริสต์เป็นครั้งแรกในรอบหลายร้อยปี

ค้นหา
Custom Search
นี่เป็นครั้งแรกในรอบหลายศตวรรษที่มีการเปิดหลุมฝังศพที่เชื่อกันว่าเป็นของพระเยซูคริสต์ ณ โบสถ์ของสุสานศักดิ์สิทธิ์ที่เมืองเยรูซาเลม หลุมพระศพถูกปิดด้วยแผ่นหินอ่อนมาตั้งแต่อย่างน้อยก็ในปี ค.ศ. 1555 หรืออาจจะก่อนหน้านั้นอีกหลายศตวรรษ

แผ่นหินอ่อนถูกเคลื่อนย้ายออกไป เผยให้เห็นสุสานดั้งเดิมที่สร้างจากหินแกะสลักที่เชื่อว่าพระศพของพระเยซูคริสต์ถูกฝังไว้ นักโบราณคดีจะทำการทดสอบหลายอย่างเพื่อค้นหาคำตอบว่าพระองค์ถูกฝังไว้ตรงไหนและอย่างไร

ตามความเชื่อของคริสเตียน พระเยซูถูกฝังอยู่ในถ้ำหินแห่งหนึ่ง แท่นวางพระศพทำจากหินที่ตัดออกมาจากผนังถ้ำ ภายหลังจากที่พระองค์ถูกตรึงบนไม้กางเขนโดยชาวโรมันในปี ค.ศ. 30
ชาวคริสต์เชื่อว่าพระเยซูฟื้นคืนชีพหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ในคัมภีร์ไบเบิลมีเรื่องเล่าว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งไปดูพระองค์หลังจากถูกฝังได้สามวัน แต่ไม่พบพระศพในถ้ำ

ใต้แผ่นหินอ่อนพวกเขาพบว่ามีชั้นของเศษหินสีเทาถมทับอยู่ ซึ่งยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร พวกเขากำลังตรวจวิเคราะห์หินที่ใช้ทำแท่นวางพระศพกันอยู่ในขณะนี้
“เมื่อแผ่นหินอ่อนถูกเลื่อนออกไป เราพบกับความประหลาดใจที่ได้เห็นวัสดุที่ถมทับอยู่ข้างใต้มัน” Fredrik Hiebert นักโบราณคดีของสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก ซึ่งมีส่วนร่วมกับโครงการนี้ กล่าว “คงจะต้องทำการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์อีกนาน แต่สุดท้ายแล้วเราก็จะทราบว่ารายละเอียดของหินดั้งเดิมที่ใช้วางพระศพของพระองค์”

การเปิดหลุมฝังศพนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการมูลค่า 4 ล้านดอลลาร์ ในการบูรณะสุสานและสิ่งก่อสร้างเป็นบ้านหลังเล็กๆที่สร้างครอบหลุมศพที่เรียกว่า “Edicule”

“เรากำลังอยู่ในช่วงวิกฤตของการบูรณะ Edicule”  Antonia Moropoulou หัวหน้าโครงการนี้ กล่าว “เทคนิคที่เราใช้ในการทำงานครั้งนี้จะถูกศึกษาและเปิดเผยออกไปโดยผู้คนที่เข้ามาในหลุมฝังศพของพระเยซู”

หลุมฝังศพถูกเปิดหลังจากที่โบสถ์ปิดก่อนกำหนดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงนักท่องเที่ยวและผู้จาริกแสวงบุญที่หลัั่งไหลเข้ามาเยี่ยมชมทุกวัน เทียนไขที่ใช้ส่องสว่างให้กับ Edicule ถูกแทนที่ด้วยไฟก่อสร้างสว่างจ้า เพื่อให้นักวิจัยได้เปิดเผยสิ่งที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน

ชมวิดีโอวินาทีที่แผ่นหินถูกเปิดออก
ที่ด้านล่าง

ปริศนาหินลึกลับสีฟ้า


ค้นหา
Custom Search
ปริศนาหินลึกลับสีฟ้า อายุหลายหมื่นปีที่ไม่มีใครเคยพบหรือรู้จัก
มาก่อน หรือนี่อาจเป็นอารยธรรมที่สาบสูญในแอฟริกา

อัญมณีลึกลับที่ไม่มีใครรู้จักนี้มีชื่อว่า ‘Skystone’ หรือ ‘หินสีฟ้าลึกลับ’ (Mysterious Blue Stone) ถูกพบโดย Angelo Pitoni นักธรณีวิทยาชาวอิตาลี ที่ถูกว่าจ้างให้เดินทางไปสำรวจยังเซอร์ราลีโอนใกล้ชายแดนประเทศกินี เมื่อปี 1990 หนึ่งในดินแดนแห่งอัญมณีล้ำค่า จากนายจ้างรายหนึ่งเพื่อหาทำเลลงทุน แต่แล้วการเดินทางครั้งนี้มันได้เปลียนชีวิตเขาไปตลอดกาล

ในระหว่างที่กำลังสำรวจบริเวณชายแดนของประเทศเซียร์ราลีโอนเมืองโคนาครีของกีนี หนึ่งในทีมงานได้พบกับวัตถุปริศนาจึงเรียกเขาไปดู และเมื่อไปถึงเขาก็แปลกใจอย่างมากเพราะมันเป็นก้อนหินสีฟ้าใสที่เหมือนกับน้ำทะเล นับเป็นสิ่งแปลกประหลาดที่สุดเท่าที่เขาเคยพบมา

เมื่อกลับมายังยุโรปเขานำหินลึกลับนี้ ไปให้กับสถาบันวิทยาศาสตร์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ประเทศอิตาลี, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศญี่ปุ่นทำการตรวจสอบ ทั้งหมดให้ข้อมูลตรงกันว่าเป็นแร่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน 

ซึ่งสีของหินก้อนของมันไม่เหมือนก้อนหินชนิดไหน ๆ (มีลักษณะเหมือนก้อนหินมากกว่าอัญมณีอย่าง เพชร หรือพลอย) โดยมีองค์ประกอบของออกซิเจนสูงกว่า 77 เปอร์เซ็นต์ และส่วนประกอบอื่นๆ อย่างคาร์บอน ซิลิคอน แคลเซียม อีกอย่างละเล็กน้อย 

นักวิจัยได้ทำการตรวจสอบสารประกอบอินทรีย์ภายในก้อนหินลึกลับนี้ ซึ่งคาดว่ามันมีอายุถึง 15,000 – 55,000 ปี ทำให้แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังตั้งคำถามว่าแล้วมันมาจากไหน และเกิดขึ้นได้อย่างไร?

นักทฤษฎีได้ออกมาตั้งสมมติฐานเกี่ยว ‘สกายสโตน’ เอาไว้ว่า มันอาจเป็นร่องรอยของอารยธรรมที่สาบสูญไปในดินแดนเซียร์ราลีโอนก็เป็นได้ หรืออาจจะเป็นแร่ธาตุที่มาจากนอกโลก ก็ยังไม่มีใครฟันธงได้ จนทุกวันนี้เรื่องราวของก้อนหินลึกลับสีฟ้าก็ยังเป็นปริศนา และยังไม่มีใครพบหินในลักษณะเดียวกันนี้อีกเลย

ชาวมายันโบราณบันทึกการโคจรของดาวศุกร์ก่อนโคเปอร์นิคัสหลายร้อยปี

ค้นหา
Custom Search
ส่วนภาพนี้คือหอดูดาวที่
เมืองชีเชนอิตซา
ชาวมายันโบราณบันทึกการโคจรของดาวศุกร์ก่อนโคเปอร์นิคัสหลายร้อยปีนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ 
ได้เสนอทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ เมื่อกลางศตวรรษที่ 15 นำไปสู่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่ชาวมายันโบราณได้ค้นพบวิถีการโคจรของดาวศุกร์ก่อนหน้านั้นหลายร้อยปี....
เอกสารมายันโบราณได้บันทึกช่วงเวลาสำคัญที่นักดาราศาสตร์ผู้เปรียบเสมือนโคเปอร์นิคัสแห่งอาณาจักรมายาได้มีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการโคจรของดาวศุกร์ข้ามท้องฟ้ายามค่ำคืน

เอกสารนี้เรียกว่า Dresden Codex ซึ่งมีการระบุตำแหน่งขึ้นและตกของดาวศุกร์อย่างละเอียด และจากบันทึกดังกล่าวนักประวัติศาสตร์สามารถระบุได้ว่านักดาราศาสตร์คนนี้มีชีวิตอยู่ในช่วง 25 ปีของครึ่งแรกของศตวรรษที่ 10

“เราทราบถึงช่วงเวลาที่คนผู้นี้รวบรวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน” Gerardo Aldana นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย กล่าว

เอกสาร Dresden Codex เป็นอักษรภาพอันงดงามของชาวมายันจำนวน 39 หน้าที่มีเรื่องราวแต่หนหลังอันน่าทึ่ง มันถูกนำออกจากคาบสมุทรยูคาตัน ไปสู่ห้องสมุดเมืองเดรสเดน ประเทศเยอรมัน ในช่วงทศวรรษ 1730 จากนั้นในช่วงปลายทศวรรษ 1800 Ernst Förstemann นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ที่ไม่มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ของชาวมายันเลย ได้เปิดดูตารางในเอกสารนี้ที่หน้า 24 แล้วได้สรุปว่าเป็นตารางแสดงการวัดตำแหน่งดาวศุกร์ แม้ว่าจะไม่มีใครในเวลานั้นที่สามารถถอดรหัสอักษรโบราณของชาวมายันได้

จากนั้นในปี ค.ศ. 1920 วิศวกรเคมี John Teeple ได้พิจารณาเอกสารและตัวเลขต่างๆอย่างละเอียดและประจักษ์ชัดว่าชาวมายันได้ใช้เทคนิคพิเศษในการแก้ไขความคลาดเคลื่อนในปฏิทินของพวกเขาที่เกิดจากวงโคจรที่ผิดปกติของดาวศุกร์ คล้ายกับที่เรามีปีอธิกสุรทินในปฏิทินปัจจุบัน

ในการวิจัยครั้งใหม่นี้ Aldana วิเคราะห์อักษรภาพและตารางตำแหน่งดาวศุกร์ในเอกสาร Dresden Codex อย่างละเอียด จึงได้ข้อสรุปว่า 
มีนักดาราศาสตร์ชาวมายัน
ผู้หนึ่งได้จัดทำแบบจำลองเพื่อใช้บอกตำแหน่งของดาวศุกร์ในตอนกลางคืนได้เป็นเวลาหลายร้อยปี โดยนักดาราศาสตร์ที่ไม่ทราบชื่อผู้นี้ทำงานด้วยความพยายามเป็นเวลา 25 ปี ในระหว่างช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 10 ที่เมืองชีเชนอิตซา ประเทศเม็กซิโก 

ภาพบนสุดเป็นพีระมิดเอลกัสตีโยแห่งชีเชนอิตซา 
นอกจากนี้ตารางตำแหน่งดาวศุกร์ยังตรงกันกับการวัดตำแหน่งดาวศุกร์อีกชุดหนึ่งที่พบในเอกสารจากอารยธรรมมายาโบราณที่เรียกว่า Copán ซึ่งในตอนนี้คือประเทศฮอนดูรัส เอกสารนี้ถูกเขียนขึ้น 200 กว่าปีก่อน

👉เอกสาร Dresden Codex แสดงให้เห็นว่าชาวมายันได้เก็บข้อมูลทางดาราศาสตร์มานานหลายศตวรรษสำหรับนักวิทยาศาสตร์ในอนาคตที่จะวิเคราะห์ข้อมูล

รายการบล็อกของฉัน