หน้าเว็บ

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ไขปริศนาจากภาพยนตร์เรื่อง MOONFALLดวงจันทร์พุ่งชนโลกได้หรือไม่ ?


ไขปริศนาจากภาพยนตร์เรื่อง 'MOONFALL' : ดวงจันทร์พุ่งชนโลกได้หรือไม่ ?

อีกหนึ่งภาพยนตร์ที่เคยฉายในโรงคือเรื่อง “Moonfall วันวิบัติ จันทร์ถล่มโลก” มันเป็นหนังภัยพิบัติที่เล่าเรื่อง ดวงจันทร์ที่กำลังจะพุ่งเข้าหาทำลายโลก เพราะถูกดาวเคราะห์น้อยพุ่งชน จนทำให้วงโคจรของดวงจันทร์เปลี่ยนไป โดยในเรื่องมีนักบินอวกาศที่ถูกส่งออกไปนอกโลกเพื่อไปช่วยมวลมนุษยชาติ และนักวิทยาศาสตร์ที่คอยหาวิธีหยุดหายนะนี้ ซึ่งพวกเขามีเวลาไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น
จากภาพยนตร์ไซ-ไฟ เรื่อง Moonfall เลยได้กระตุ้นให้เกิดคำถามว่า ในทางวิทยาศาสตร์จริง ๆ แล้วดวงจันทร์สามารถชนกับโลกได้หรือไม่? ผมจึงไปหาคำตอบและพบว่าคำตอบสั้น ๆ คือ “ได้!” 


ดวงจันทร์สามารถพุ่งชนโลกและทำให้เกิดหายนะร้ายแรงได้ แต่หากจะให้ตอบจริง ๆ แล้วมันค่อนข้างจะเป็นไปไม่ได้ หรือเป็นไปได้ยากมาก ๆ แล้วเพราะอะไรกัน?

ในความจริงแล้ว ดวงจันทร์และโลกอยู่ในวงโคจรที่มั่นคง "มีความสมดุลระหว่างโลกกับดวงจันทร์" Dr Tony Cook นักฟิสิกส์จาก Aberystwyth University กล่าวว่าทั้งดวงจันทร์และโลกมี “จุดสมดุลที่เรียกว่าบารีเซ็นเตอร์ (barycentre) และทั้งสองก็หมุนรอบจุดนั้น”

หากเปรียบเทียบอย่างง่าย ๆ เราอาจคิดถึงรางรถไฟสองราง โลกและดวงจันทร์เปรียบเสมือนรถไฟในราง วิ่งไปคู่กัน ถ้าไม่มีอะไรมาทำให้มันเปลี่ยนแปลง รางรถไฟคู่นั้นจะวิ่งไปด้วยกันตราบนานเท่านาน

แต่จักรวาลนั้นกว้างใหญ่ และมันก็เต็มไปด้วยพลังที่จะทำให้เกิด “อุบัติเหตุ” ได้ พลังนั้นคือ “แรงโน้มถ่วง”  โลกถูกยึดไว้ด้วยแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ก็ถูกยึดไว้ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก วันหนึ่งหากระบบสุริยะของเราเคลื่อนไปในอวกาศ และพบกับอะไรบางอย่างที่ใหญ่พอ ๆ ดาวพฤหัสหรือมากกว่า มันอาจเข้ามารบกวนวงโคจรของเราได้ เนื่องจากยิ่งวัตถุขนาดหนาแน่นมากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งมีแรงโน้มถ่วงที่รุนแรง เหมือนกับดวงอาทิตย์ที่ดึงดูดดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางต่าง ๆ มันก็อาจทำให้ดวงจันทร์เปลี่ยนวงโคจรเข้าหาโลกก็เป็นไปได้ ทุกวันนี้ 

นักดาราศาสตร์รู้เส้นทางของวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะเป็นอย่างดี แต่อวกาศนั้นกว้างใหญ่เกินไป หนทางข้างหน้าในอนาคตจึงไม่อาจมีใครรู้


แต่สิ่งที่รู้คือ หากดวงจันทร์จะพุ่งชนโลก มันจะไม่พุ่งเข้าชนเหมือนอุกกาบาต แต่จะค่อย ๆ เปลี่ยนวงโคจรเข้าใกล้โลกเหมือนน้ำวนที่กำลังวนลงหลุม ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ปี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนห่างออกจากโลกราว 3.8 เซนติเมตรต่อปี

แต่ข่าวดีคือจากตอนนี้ไปอีกกว่าหลายพันล้านปีข้างหน้า ไม่มีอะไรให้ต้องกังวล โลกจะยังคู่กับดวงจันทร์เสมอไป ยังคงเป็นสิ่งสวยงามบนท้องฟ้ากลางคืนและทำให้น้ำขึ้นลงเหมือนเดิม

Rjukan เมืองที่มืดมิดที่สุด สร้างกระจกราคา 18 ล้านสะท้อนแสงอาทิตย์เพื่อให้เมืองอยู่รอด


Rjukan เมืองที่มืดมิดที่สุด สร้างกระจกราคา 18 ล้านสะท้อนแสงอาทิตย์เพื่อให้เมืองอยู่รอด

บางทีเราคิดว่าเมืองที่มืดมิดแบบนี้มันก็ดีนะครับมันจะทำให้เรารู้สึกอยากนอนตลอดเวลาเพราะว่าอากาศมันคล้ายๆกลางคืนผมว่ามันก็มีดีเหมือนกันนะครับRjukan เมืองที่มืดมิดที่สุด 


ในขณะที่คนไทยทุกคนอยากให้แดดในประเทศไทยร้อนน้อยลงกว่านี้บ้าง หรือหายๆ ไปเลยก็ยิ่งดี แต่สำหรับในบางประเทศ บางเมือง คุณอาจไม่รู้หรอกว่า พวกเขาต้องการแสงอาทิตย์มากแค่ไหน เพราะถ้าหากว่าคุณต้องอาศัยอยู่ในเมืองที่ไม่มีแสงแดดเลยจริงๆ มันจะดีอย่างที่คุณคิดหรือเปล่า ?


นี่คือเรื่องราวของเมือง Rjukan ที่ตั้งอยู่ห่างจากออสโล เมืองหลวงของประเทศนอร์เวย์ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 3 ชั่วโมง และเมืองๆ นี้เป็นที่รู้กันดีว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่มีความมืดมิดที่สุดในโลก


เมือง Rjukan มีประชากรอยู่อาศัยราว 3,386 คน ซึ่งชื่อของเมืองนี้ได้มาจากน้ำตก Rjukan ที่มีความสูงถึง 104 เมตร และยังเป็นแหล่งสร้างพลังงานไฟฟ้าให้กับเมืองแห่งนี้อีกด้วย

ส่วนสาเหตุที่เมืองแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มืดมิดที่สุดก็คือ ตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงเดือนมีนาคม แสงอาทิตย์บนท้องฟ้าจะไม่สามารถสาดส่องมายังเมืองโดยตรงได้ เนื่องจากทำเลที่ตั้งของเมืองนั้นอยู่ท่ามกลางภูเขาล้อมรอบ


ในความเป็นจริงแล้ว เมือง Rjukan และเกือบทั้งประเทศนอร์เวย์ แทบจะมีเวลากลางวันตลอด 24 ชั่วโมง ยกเว้นแต่ในช่วงเดือนธันวาคมและมกราคม เนื่องจากปรากฏการณ์ “อาทิตย์เที่ยงคืน” แต่สิ่งที่เมือง Rjukan แตกต่างจากเมืองอื่นๆ ในนอร์เวย์ก็คือการที่เมืองแห่งนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขา ที่บดบังแสงอาทิตย์ที่จะสาดส่องมายังเมืองโดยตรง จนทำให้เมืองแห่งนี้มืดมิดแทบจะตลอดเวลา


แน่นอนว่าชาวเมืองต้องการแสงแดด ซึ่งนอกจากจะให้ความอบอุ่นแก่ชาวเมืองแล้ว ยังเป็นแหล่งวิตามินดีที่สำคัญอีกด้วย ทางเมือง Rjukan จึงลงทุนใช้เงินจำนวน 5 ล้านโครนนอร์เวย์ หรือประมาณ 18.3 ล้านบาท เพื่อติดตั้งกระจกที่จะสะท้อนแสงแดดเข้ามาสู่เมือง


กระจกเหล่านี้ถูกติดตั้งอยู่เหนือเมืองประมาณ 450 เมตร โดยเป็นกระจกกระจกพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สามารถจับความเคลื่อนไหวตามดวงอาทิตย์ เพื่อให้สะท้อนแสงแดดลงสู่เมืองได้อย่างถูกต้อง

ผลลัพธ์ก็คือ กระจกได้กลายเป็นเหมือนดวงอาทิตย์เทียมที่ช่วยส่องแสงสว่างลงสู่เมืองที่มืดมิดได้นั่นเอง

หนึ่งในชาวเมือง Rjukan ที่เคยอาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนที่เมืองยังมืดมิดไม่มีแสงจากกระจก ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ผมแทบไม่เคยคิดถึงแสงแดดเลย แต่สิ่งนี้มันช่วยให้เมืองอบอุ่นขึ้นมาก ไม่ใช่แค่ร่างกาย แต่รวมไปถึงจิตใจ มันให้จิตใจคุณอบอุ่นไปด้วย”


จริงๆ แล้วไอเดียนี้เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่า จะเป็นการเสียเงินโดยใช่เหตุ และมันจะทำได้แค่เพียงสะท้อนแสงอันริบหรี่จากดวงอาทิตย์เท่านั้น

ในขณะที่นักวิจารณ์อีกหลายคนก็เชื่อว่า มันจะช่วยให้เมืองอบอุ่นขึ้นได้จริง แถมยังเป็นจุดขายที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มายังเมืองนี้ได้อีกด้วย



และหากคุณคิดว่าไอเดียการติดตั้งกระจกจะเป็นไอเดียที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานนี้ล่ะก็ คุณคิดผิดถนัด เพราะไอเดียนี้เกิดขึ้นครั้งแรกโดย แซม ไอด์ ตั้งแต่ปี 1913 หรือเมื่อ 106 ปีที่แล้ว ซึ่งแซมเข้าใจถึงความสำคัญของแสงอาทิตย์และพยายามสร้างกระจกสะท้อนแสงอาทิตย์มาแล้ว แต่โชคร้ายที่เขาทำไม่สำเร็จ จนกระทั่งผ่านมานานกว่า 100 ปี ไอเดียนี้ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้งในปี 2005 โดย มาร์ติน แอนเดอร์เซน ศิลปินชาวท้องถิ่นของเมือง และในปี 2013 กระจกเหล่านี้ก็ถูกติดตั้งได้สำเร็จ

ความมืดมิดมืดแสงสลัวมันก็มีดีบ้างไม่ดีบ้างก็แล้วแต่คนชอบนะครับ ถ้าเป็นประเทศไทยอากาศร้อนแดดสว่างจ้าเราบางทีเราก็ไม่ชอบ


วันพุธที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566

Graphene Aerogel นี่คือของแข็งที่เบาที่สุดในโลก เบากว่าอากาศถึง 7 เท่า


Graphene Aerogel นี่คือของแข็งที่เบาที่สุดในโลก เบากว่าอากาศถึง 7 เท่า

Graphene Aerogel ถ้าวัตถุชนิดนี้มีจริง
ต้องยอมรับเลยนะครับว่ามันเบากว่าอากาศถึง 7 เท่าเราคิดว่าอากาศนี้เบาแล้วนะครับแต่มันเจอไอ้ของแข็งชนิดนี้อีกอ่ะที่ชื่อว่าGraphene Aerogel เบากว่าอากาศถึง 7 เท่า ไม่รู้ว่ามันจะเบาไปถึงไหนแล้วครับคงจะลอยไปลอยมาเลยแต่ไม่รู้ว่ามันมีจริงหรือเปล่าแต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวจีน ได้สร้างความตกตะลึงให้กับโลกด้วยการสร้างวัตถุที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในโลก มันจะเป็นอย่างไรเราเข้ามาอ่านดูกันเลยนะครับ

คุณคิดว่าของแข็งที่เราหยิบจับกันอยู่ทุกวันนี้ จะมีน้ำหนักเบาได้ถึงขนาดไหน แน่นอนว่าคุณต้องไม่เชื่อว่า จะมีของแข็งชนิดไหนที่เบาได้กว่าอากาศ และไม่ได้เบากว่าอากาศนิดเดียว แต่มันเบากว่าถึง 7 เท่าอีกด้วย


 เมื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวจีน ได้สร้างความตกตะลึงให้กับโลกด้วยการสร้างวัตถุที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในโลก โดยมันมีชื่อเรียกว่า กราฟีน แอโรเจล (Graphene Aerogel) ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าอากาศ 7 เท่า และเบากว่า แอโรกราไฟท์  ซึ่งเป็นเจ้าของสถิติเดิมอยู่ถึง 12%


กราฟีน แอโรเจล ที่มีขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีน้ำหนักเพียง 0.16 มิลลิกรัม ดังนั้นถ้ามันมีขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร ล่ะก็ มันจะมีน้ำหนักแค่เพียง 160 กรัมเท่านั้น ส่วนใครที่ไม่เข้าใจคำว่าลูกบาศก์เมตร ลองคิดถึงกล่องสี่เหลี่ยม ที่มีขนาด กว้างxยาวxสูง 1 เมตรเท่ากันหมด นั่นล่ะครับ น้ำหนักของกล่องนี้ ถ้าเป็นกราฟีน แอโรเจล จะมีน้ำหนักเพียง 160 กรัม หรือ 1.6 ขีด เท่านั้น


นอกจากคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมในเรื่องน้ำหนักเบาแล้วมันยังมีความยืดหยุ่นและการดูดซึมที่ยอดเยี่ยม กราฟีน แอโรเจล สามารถคืนรูปหลังจากการถูกบีบอัดได้มากถึง 90% และดูดซับน้ำหนักของน้ำมันที่มากกว่าตัวมันเองถึง 900 เท่า ในอัตรา 68.8 กรัมต่อวินาที


ภาพที่แสดงให้เห็นว่าแอโรเจลที่มีน้ำหนักเพียง 2 กรัม สามารถแบกรับอิฐที่มีน้ำหนักถึง 2.5 กิโลกรัม ได้อย่างสบายๆ

ด้วยคุณสมบัติขั้นเทพดังกล่าว ทำให้ Gao Chao หัวหน้าทีมนักวิจัยชาวจีนหวังว่า มันอาจจะนำมาใช้ในการดูดซับน้ำมันที่รั่วไหลในทะเล การนำไปใช้เป็นฉนวนกันความร้อน ใช้เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าแทนแอโรกราไฟท์ และอาจนำไปใช้ในการสร้างแบตเตอรี่น้ำหนักเบาแต่มีพลังงานสูงก็เป็นได้


Peter Tsou นักวิทยาศาสตร์ของนาซ่า กำลังถือแอโรเจล ที่เป็นรูปแบบโปร่งแสงอยู่


ส่วนภาพนี้แสดงให้เห็นว่า แผ่นแอโรเจลบางๆ สามารถกันความร้อนจากไฟด้านล่าง ไม่ทำให้สีเทียนที่อยู่ข้างบนละลายได้




และนี่ก็คืออีกหนึ่งวัสดุแห่งโลกอนาคต ที่เชื่อเหลือเกินว่า อีกไม่นานนัก เราจะเห็นเจ้ากราฟีน แอโรเจล มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราได้ใช้ในชีวิตประจำวันกันอย่างแน่นอน

ที่มา : extremetech |

คนกรุงเทพ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เท่ากับการสูบบุหรี่ 1,224.77 มวน


คนกรุงเทพ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เท่ากับการสูบบุหรี่ 1,224.77 มวน 

ข้อมูลจาก Rocket Media Lab เผยว่า ถ้าค่าฝุ่น PM 2.5 22 มคก./ลบ.ม. = บุหรี่ 1 มวน ปี 2022 ที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯ สูบบุหรี่ไปทั้งหมดจำนวน 1,224.77 มวน 

การเปรียบเทียบนี้มาจากงานวิจัยของ Richard A. Muller นักวิจัยชาวอเมริกันจากสถาบันวิจัยสภาพอากาศ Berkeley Earth แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ โดยค่าฝุ่นที่นำมาเปรียบเทียบเป็นแบบค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในแต่ละวันของปี 2022

แต่ถือว่าฝุ่นลดจากปี 2021 ในปี 2022 ที่ผ่านมาคนกรุงเทพฯ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ ทั้งหมดจำนวน 1,224.77 มวน ลดลงถึง 37 มวนจากปี 2021 ที่มีจำนวน 1,261.05 มวน อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบจำนวนวันอากาศดี กรุงเทพฯ มีวันที่อากาศดี อยู่เกณฑ์สีเขียวเพียง 49 วัน คิดเป็น 13.42% ของทั้งปี น้อยกว่าในปี 2021 ที่มีถึง 90 วัน 


สำหรับเดือนที่มีอากาศเลวร้ายที่สุดในปี 2022 อย่างเดือนเมษายน คนกรุงเทพฯ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่จำนวน  127.77 มวน คิดเป็นเฉลี่ยคือสูบบุหรี่กันวันละ 4.26 มวน โดยลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศเลวร้ายที่สุด ที่คิดเป็นจำนวน 163.68 มวน  


แม้แต่ในเดือนที่อากาศดีที่สุดในปี 2022 อย่างกรกฎาคม คนกรุงเทพฯ ก็ยังสูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่จำนวน 74.36 มวน เฉลี่ยวันละ 2.4 มวน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2021 ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศดีที่สุดเช่นเดียวกัน ที่คิดเป็นจำนวน 64.86 มวน

อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการชี้ว่าควันพิษจากบุหรี่นั้นมีสารพิษมากกว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก

รายการบล็อกของฉัน