หน้าเว็บ

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิวัฒนาการ และ นักปราชญ์ ดวงดาว


วิวัฒนาการ และ นักปราชญ์ ดวงดาว  
Stars evolution and Zeno           
เป็นเวลานับศตวรรษ ๆ มาแล้ว ที่พราหมณ์มีตารางดาราศาสตร์ สุรยสิทธันตะ ที่ก้าวหน้าในคัมภีร์ทางดาราศาสตร์ของอินเดียโบราณนี้ กล่าวว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของโลกนั้น คำนวณได้เป็น 7,840 ไมล์ ระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ คำนวณได้ 253,000 ไมล์ ค่าที่ได้นี้เป็นที่ยอมรับจากดาราศาสตร์สมัยใหม่ เพราะเส้นผ่าศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตรของโลกเราเท่ากับ 7,926.7 ไมล์ และระยะทางไกลสุดไปยังดวงจันทร์นั้นถือว่าเป็น 252,710 ไมล์ จากค่าที่ได้นี้ เราจะเห็นความแม่นยำอย่างน่าประหลาดใจของดาราศาสตร์โบราณของอินเดีย โดยเฉพาะในสมัยที่ชาวยุโรปกำลังมีปัญหากับความคิดว่าโลกแบน การรวบรวมสุรยสิทธันตะนั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ.1000 แต่ชาวฮินดูก็เชื่อว่าผู้รวบรวมคนก่อนนั้นมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล หากเป็นเช่นนั้น คัมภีร์เล่มนี้ก็เป็นปัญหาหนักขึ้นมาอีก

ในคัมภีร์ภาษาสันสกฤตของมนุษย์ เราพบแนวคิดเรื่องวิวัฒนาการในอินเดียก่อนหน้าลามาร์ค และดาร์วิน นับพัน ๆ ปี โดยกล่าวว่า เชื้อแรกของสิ่งมีชีวิตพัฒนาขึ้นมาจากน้ำและความร้อน มนุษย์จะข้ามผ่านจักรวาล ค่อย ๆ ลงมา และผ่านก้อนหิน, ต้นไม้, ตัวหนอน, แมลง, ปลา, งู, เต่า, สัตว์ป่า, วัวควาย, และสัตว์ชั้นสูง เหล่านี้คือการเปลี่ยนสภาพที่ประกาศไว้ ซึ่งต้องเกิดในโลกของมนุ จากพืชพันธุ์ไปสู่พรหม
           
วิวัฒนาการตามแบบฉบับโบราณนี้ เป็นความคิดที่ฝังลึกในเหล่านักพรตหรือเป็นของขวัญจากขุมทรัพย์สมัยเก่าก่อน ที่พิทักษ์ไว้โดยนักบวชสมัยแรกเริ่มของอินเดีย
             
จักรวาลวิทยาของฮินดู ได้ประมาณอายุขัยของระบบสุริยะไว้เป็นล้าน ๆ กัลป์หรือวันของพรหมนั้น คืออายุขัยของโลกเรา ถือว่าเท่ากับ 4,320 ล้านปี อายุในปัจจุบันของโลก จากการวัดอายุด้วยอาร์กอน เท่ากับ 5,000 ล้านปี แม้ว่าวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และเรื่องเล่าของพราหมณ์จะไม่ตรงกันทีเดียวนัก ในเรื่องช่วงเวลาของวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ แต่ลำดับเวลาทางจักรวาลของอินเดียก็น่าประทับใจอย่างยิ่ง เพราใช้เวลาเป็นล้านปีเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์

ดรูเซสแห่งเลบานอนมีความเชื่อว่าโลกมีอายุ 3,430 ปี ในสมัยฮะกิม จารึก เมตเตอร์นิช ของอียิปต์อ้างถึง เรืออายุเป็นล้านปี ที่เทพเจ้าเรใช้ เหล่านี้คือการบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า ชาวโบราณคิดว่าจักรวาลมีความเก่าแก่มาก การคะเนของพวกเขามีความเป็นวิทยาศาสตร์ และเชื่อถือได้มากกว่าข้อสรุปของบรรพบุรุษในศตวรรษที่สิบแปดของเรา เกี่ยวกับโลกว่ามีอายุเพียงไม่กี่พันปีเท่านั้น แหล่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ลี้ลับนี้ถูกซ่อนเร้นในห้วงลึกแห่งกาลเวลา
         
นักปราชญ์แห่งอินเดียยังเขียนเรื่องราวเกียวกับความเล็กอย่างไม่มีขีดจำกัดในคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น สุรยสิทธันตะ หรือพฤหัถสถก ในสมัยก่อนนั้นมีการแบ่งวันออกเป็นหกสิบกาล หรือฆติกะ แตะละกาลเท่ากับยี่สิบสี่นาที แล้วแบ่งย่อยลงเป็น 60 วิกาล แต่ละวิกาลเท่ากับยี่สิบสี่วินาที จากนั้นก็แบ่งลงไปเป็นหกสิบส่วนเรื่อยไป จากวิกาลเป็นปะระ, ตัตปะระ, วิตัตปะระ, อิมะ, และกัษฏะ หลังจากแบ่งเวลานี้แล้ว พราหมณ์ก็มาถึงหน่วยที่เล็กที่สุด คือ กัษฏะ ซึ่งเทียบเท่ากับ 0.00000003 (หนึ่งในสามร้อยล้านวินาที) ไม่จำเป็นต้องกล่าวเลยว่า หากปราศจากเครื่องมือที่แม่นยำแล้ว กัษฏะในฐานะเศษส่วนย่อยของไมโครวินาที ก็จะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง


เราอยากจะสรุปว่า การวัดเวลานี้เป็นเพียงเรื่องเล่าที่นักปราชญ์เล่าสืบต่อมา จากอารยธรรมที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้า ที่อาจจะคุ้นเคยกับนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ความจริงแล้วผู้เขียนได้ค้นพบสิ่งน่าตื่นเต้นอย่างหนึ่งในช่วงที่อยู่ในอินเดีย นั่นคือ กัษฏะ (3 X 10-8) นั้น มีความใกล้เคียงกับอายุของเมซอน และไฮเปอรอนอย่างน่าแปลกใจ...

รายการบล็อกของฉัน