หน้าเว็บ

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

ถ้ำ...มหาสมบัติ...ก่อนน้ำท่วมโลก

Caves ... Maha treasure ... Before Flood the World.
พิพิธภัณฑ์โบราณ (ancient Museum)        
ซิเซโร (มาร์คุส ทุลลิอุส ซิเซโร)
 นักปราชญ์ชาวโรมัน
ขอให้ย้อนรำลึกถึงคำพูดของนักบวชอียิปต์นามว่า โซนชีส แห่งไซส์ ซึ่งกล่าวแก่ผู้บัญญัติกฎหมายกรีกนามว่า โซลอน เจ้าทั้งหลายยังเยาว์อยู่ในชีวิตนี้ เพราะเจ้าไม่มีขนบเก่า ๆ ความเชื่อหรือความรู้เก่าแก่ที่มีอายุยาวนานและสาเหตุก็คือ ขนบส่วนมากถูกทำลายล้างจากมนุษยชาติ และยังมีอีกมากที่กำลังจะถูกทำลายล้าง
           
จากประโยคนี้ แสดงว่าชาวอียิปต์ได้บันทึกย้อนกลับไปถึงพัน ๆ ปี มิฉะนั้นแล้วคงจะเป็นไปไม่ได้เลยที่นักบวชท่านนี้จะชี้แนวทางแก่โซลอน ถึงเรื่องราวของแอตแลนติสอย่างชัดเจนเช่นนี้
             
อาจจะมีคนมองว่าแอตแลนติสเป็นเพียงนิทานเก่า ๆ เรื่องหนึ่ง แต่หากตำนานโบราณของกรีกเรื่องเมืองทรอย ได้กลายไปเป็นประวัติศาสตร์ตามการศึกษาของชลีมันน์แล้ว เรื่องพื้นบ้านหรืองานเขียนของนักประวัติศาสตร์ของโลกคลาสสิกจะไม่น่าเชื่อถือยิ่งไปกว่าหรือ ?
           
ท่านซิเซโร (106 - 43 ปีก่อนคริสตกาล) ได้เขียนไว้ในหนังสือ เด ดีวีนาทิโอเน (De divinatione) ว่านักบวชบาบิโลน ยืนยันว่าตนได้เก็บรักษาข้อมูล หลักฐานโบราณที่เก่าแก่ย้อนกลับไปถึงช่วง 470,000 ปี เราต้องสำนึกบุญคุณนักปราชญ์ชาวโรมันผู้ยโสท่านนี้ ที่ได้บันทึกข้อเท็จจริงเหล่านี้ไว้
           
เวลากว่า 2,000 ปีที่ผ่านมา สตาโบได้กล่าวว่า พวกอิเบเรียนแห่งสเปนผู้ คุ้นเคยกับงานเขียน และทำงานเพื่อประวัติศาสตร์เผ่าพงศ์ของตน รวมทั้งกาพย์กลอนและกฎหมาย โดยเขียนไว้เป็นร้อยกรอง ซึ่งกล่าวว่ามีอายุกว่า 6,000 ปีมาแล้ว
           
ดีโอเกเนส ไลร์ทิอุส เขียนไว้ในคริสต์ศตรวรรษที่สามว่า ชาวอียิปต์โบรารณได้บันทึกการเกิดสุริยคราส 373 ครั้ง และจันทรคราส 832 ครั้ง จากหลักของช่วงการเกิดสุริยคราสและจันทรคราส ทำให้เราประมาณได้ว่าข้อมูลการสังเกตนี้ครอบคลุมระยะเวลาประมาณ 10,000 ปี        
เพลโต ผู้เผยแพร่เรื่องราวของแอตแลนติส
มหากาพย์กิลกาเมซ อายุกว่า 4,000 ปี ได้บรรยายไว้ว่า กิลกาเมซ เป็นผู้ฉลาด เขาเห็นเรื่องปาฏิหาริย์ และรู้สิ่งลึกลับต่าง ๆ เขาเล่าเรื่องวันวานครั้งก่อนน้ำท่วมโลก เขาเดินทางอย่างยาวนานด้วยความเหนื่อยล้า และได้สลักศิลาเล่าเรื่องทั้งหมดนั้น
           
พีระมิดแห่งบาบิโลนหรือซิกกูแร็ต เป็นหอคอยเรียงชั้นที่มีความสำคัญในทางศาสนาและดาราศาสตร์ หรือว่าพวกเขาได้สร้างสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ไว้เหนือถ้ำ หรือใกล้ถ้ำมหาสมบัติที่ซ่อนเร้น เพื่อปกปักบันทึกแห่งมนุษยชาติเพื่อให้อยู่รอดในกาลเวลาแสนยาวนาน ดังที่นักบวชบาบิโลนกล่าวไว้
             
ตอนนี้เราออกจากบาบิโลน และเดินทางไปสู่อียิปต์ เบื้องหน้าเรานั้นก็คือ มาเนโธ นักบวชและผู้รักษาเอกสารอันล้ำค่าแห่งอารามเฮลิโอโพลิส เวลาช่วงนั้นคือเมื่อสามร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษ ท่านมาเนโธเป็นที่รู้จักในฐานะผู้คัดลอกเรื่องในอดีต จากเสาในอารามลับใต้ดินในอียิปต์ ใกล้เมืองธีบีสไม่ไกลจากอนุสาวรีย์เมมนอนเท่าใดนัก ท่านออยเซบิอุส (ค.ศ.265 - 340) กล่าวไว้ในงานเขียนของตนว่า ท่านมาเนโธได้ศึกษาประวัติศาสตร์จากจารึกบนเสาที่จารึกโดยโธธ
(เฮอร์เมส)
             
หลังจากน้ำท่วมโลก อะกาโทเดมอน บุตรคนที่สองของเฮอร์เมสก็ได้แปลจารึกและคัดลอกลงม้วนกระดาษ และจากนั้นก็เก็บไว้ในถ้ำมหาสมบัติ แต่เราไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด
             
เรื่องเล่าโบราณของบรรพบุรุษ ช่วยยืนยันว่าคลังเก็บใต้ดินจำนวนมหาศาลเหล่านี้ สร้างขึ้นตามคำสั่งของมุนีแห่งแอตแลนติส ผู้คาดการณ์ล่วงหน้าถึงน้ำท่วมโลกที่จะมาถึง นักประวัติศาสตร์ชาวไบซันไทน์ นามว่าจอร์จ เดอะ ซินเซลลุส (ค.ศ.806 - ?) ได้เขียนถึงพงศาวดารที่ชาวอียิปต์ได้เก็บรักษามาเป็นเลา 36,525 ปี
             
โพรคลุส (ค.ศ.412 - 489) เขียนไว้ว่า เพลโตเคยไปอียิปต์ และสนทนากับสังฆราชพาเทไนต์ที่เมืองไซส์ และที่เมืองเฮลิโอโพลิส ได้สนทนากับนักบวชชื่อโอคลาพี ส่วนที่เซเบนนีทุส ท่านได้สนทนากับท่านอธิการเอธิมอน เป็นไปได้ว่าในช่วงที่เพลโตไปอียิปต์นั้น เพลโตได้รับข้อมูลชั้นต้นในเรื่อแอตแลนติส
         
ครันทอร์ (300 ปีก่อนคริสตกาล) กล่าวว่าที่อียิปต์มีเสาหลักจำนวนหนึ่งอยู่ในสถานที่เร้นลับ จารึกประวัติศาสตร์ของแอตแลนติสไว้ และชาวกรีกบางคนก็ได้ประจักษ์กับหลักฐานดังกล่าว      
โอซีริส เทพเจ้า
แห่งโลกบาดาลของอียิปต์
ในการเขียนเกี่ยวกับพีระมิด ท่านอัมเมียนุส มาร์เซลลินุส (ค.ศ.330 - 400) นักประวัติศาสตร์ชาวโรม ได้เพิ่มเติมหลักฐานถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับถ้ำมหาสมบัติ ที่ว่ามีพงศาวดารซ่อนอยู่ในอียิปต์ นอกจากนี้ยังมีทางเดินใต้ดิน และเส้นทางคดเคี้ยว กล่าวกันว่าช่างฝีมือในโลกลี้ลับโบราณ ได้สร้างไว้ในสถานที่ต่าง ๆ เนื่องจากคาดการณ์ถึงน้ำท่วมที่กำลังจะมาถึง ด้วยเหตุนี้แม้แต่ความทรงจำถึงพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก็สูญหายไปได้น้อยที่สุด
       
งานเขียนของชนสมัยโบราณเหล่านี้ต่างสงบเงียบอยู่ในตำแหน่งเฉพาะของสถานที่เก็บ มาเนโธได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ในบันทึกที่ซ่อนเร้นแห่งหนึ่ง ส่วนโซลอนผู้ที่ให้ตำนานแอตแลนติสแก่เพลโตโดยทางอ้อม ก็คงเข้าไปหอสมุดลับได้ เพราะเจ้าบ้านชาวอียิปต์นั่นเอง
           
ประมาณ 2,500 ปีก่อน ที่ฮีโรโดตัสได้เห็นรูปปั้นนักบวชชั้นผู้ใหญ่ของอียิปต์จำนวน 345 รูป ที่มีอายุในสมัยต่าง ๆ กันมา ย้อนกลับไปได้ถึง 11,340 ปีก่อนนั้น นอกจากนี้ฮีโรโดตัสยังได้เขียนไว้ว่า โอซีริสมีชีวิตอยู่ 15,000 ปีก่อนสมัยอะเมสีส ส่วนอะเมสีสนั้นอยู่ในสมัย 570 - 526 ปีก่อนคริสตกาล และยังเสริมว่า พวกเขาบอกว่าเป็นวันเวลาที่แน่นอน เพราะพวกเขาจดบันทึกเวลาที่ผ่านมาอย่างละเอียดรอบคอบ
             
เป็นไปได้ไหมว่าพีระมิดคูฟู เป็นอนุสรณ์สถาน เพื่อบ่งบอกถึงตำแหน่งที่เก็บสมบัติลึกลับของวัฒนธรรมแอตแลนติส ที่สร้างขึ้นก่อนสมัยน้ำท่วมโลก คำถามนี้อาจจะเป็นเรื่องตลกขบขัน แต่มาเนโธก็ยืนยันว่า พีระมิดนี้ชาวอียิปต์มิได้สร้างขึ้น เมื่อฮีโรโดตัสไปอียิปต์เมื่อ 455 ปีก่อนคริสตกาล เขาก็เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า สิ่งก่อสร้างจากศิลาก้อนใหญ่มหึมานั้น ไม่คล้ายกับสิ่งก่อสร้างอื่นใดที่ฝังจมในดินอยู่เลย
             
ทฤษฎีเรื่องหอลับภายในหรือภายใต้พีระมิด และสฟิงซ์นั้น ไม่ควรจะต้องสงสัยอะไรอีกแล้ว เพราะเมื่อมีการแปรเปลี่ยนทฤษฎีไปเป็นการปฏิบัติเมื่อนั้นการค้นพบก็เกิดขึ้น
             
เราจะเห็นถ้ำมหาสมบัติได้ที่ใด และจะไปเสาะแสวงหาได้อย่างไร หากคลังเก็บแห่งนั้นมิได้อยู่ภายในพีระมิด ตำแหน่งและความลึกใต้พื้นดินอาจจะได้รับการยืนยันจากการค้นพบรูปแบบทางเรขาคณิตบางประการในตัวพีระมิดและสฟิงซ์ ข่าวสารนี้ควรจะซ่อนเร้นอยู่ในศิลาก้อนใหญ่มหึมา ในสิ่งก่อสร้างนั้น นอกจากนี้แล้วยังอาจจะมีกุญแจเพื่อไขปริศนาทางดาราศาสตร์อีกด้วย
             
ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับถ้ำเร้นลับในแหล่งสมบัติของอียิปต์ และอาหรับสมัยคลาสสิกนั้น จะต้องมีการวิเคราะห์อย่างละเอียดลออ เพื่อให้ได้ร่องรอยที่เป็ไปได้ของสถานที่ตั้งนั้น ๆ และควรจะใช้อุปกรณ์ในทางวิทยาศาสตร์ เพื่อไขปริศนาเรื่องอายุหรือเวลาด้วย      
โครงการพีระมิดของสหรัฐอเมริกาและสหรัฐอาหรับ โดยผู้ปฏิบัติก็คือ มหาวิทยาลัยไอน์ เชมส์ ในกรุงไคโร และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย โครงการนี้นับเป็นก้าวหนึ่งในทิศทางที่ถูกต้อง นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ หอจุดประกายไฟ แบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความไวสูง เพื่อวัดการไหลของรังสีคอสมิก จากพื้นที่ภายนอกที่ผ่านเข้าสู่พีระมิด เนื่องจากรังสีคอสมิกจะกระทบพีระมิดจากทุกทิศทางอย่างไม่มีรูปแบบ รูโหว่ในก้อนหินเหนือหอจุดประกายไฟจะปล่อยให้รังสีผ่านไปมากกว่าบริเวณส่วนหนาทึบของพีระมิด การทดลองนี้จะปรากฏเป็นเงาบนจออ่านค่า และจากการใช้ตัวนับสองตัวในตำแหน่งต่าง ๆ กัน ทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งที่ชัดเจนของแหล่งสมบัติดังกล่าวได้
         
หากแคปซูลเวลาของชาวแอตแลนติสฝังลึกอยู่ใต้พีระมิด การตรวจค้นดังกล่าวก็จำต้องใช้เทคนิคที่ต่างออกไป มีเรื่องในสมัยโบราณกล่าวถึงผนังเคลื่อนที่ ประตูลับ และแสงวาบในเส้นทางส่วนลึกของพีระมิด นับว่าเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าที่มีการจ่ายกำลังอย่างไม่สิ้นสุดเท่านั้น จึงสร้างปรากฏการณ์เช่นนี้ได้ เครื่องนับแบบไกเกอร์ที่มีความไวต่อการรบกวนของสนามแม่เหล็กอาจจะตรวจจับการมีอยู่ของความเร้นลับดังกล่าวได้ เมื่อผู้เขียนได้เขียนจดหมายถึงด็อกเตอร์แอล. ดับเบิลยู. อัลวาเรซ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ผู้ก่อตั้งโครงการพีระมิดนี้ การตรวจวัดที่ดำเนินต่อไปเช่นนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำคัญของระเบิดปรมาณูลูกแรก หรือยานสปุตนิก 1 หากได้พบกรุมหาสมบัติสมัยก่อนประวัติศาสตร์จริง ๆ
         
หอสมุดแอตแลนติสอาจจะมีการแสดงเทคโนโลยีและศาสตร์สมัยก่อนน้ำท่วมโลก เครื่องกลสมัยโบราณอาจเผยให้เราเห็นหลักการวิศวกรรมใหม่ ๆ ของกำนัลจากอดีตอันไกลโพ้น อาจจะเปลี่ยนเส้นทางที่จะไปสู่อนาคตของเราก็เป็นได้
             
ภาพสะท้อนเหล่านี้เราอาจจะเห็นเป็นเรื่องเพ้อฝัน แต่ขอให้เราลองมาพิจารณาถึงพัฒนาการของอุปกรณ์ตรวจรังสีเอกซ์ในพีระมิด ซึ่งนำมาใช้เมื่อต้นปี ค.ศ.1967
             
น่าจะกล่าวไว้ตรงนี้ว่า เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.1966 ผู้เขียนได้เขียนจดหมายถึงด็อกเตอร์หลุย อัลวาเรซ ผู้ก่อตั้งโครงการพีระมิด และเสนอว่า การแสวงหากรุสมบัตินั้น ควรขยายต่อไปยังส่วนรากฐานของพีระมิด โดยใช้เครื่องอุปกรณ์อื่น ๆ นอกจากเครื่องวัดรังสีคอสมิก เพื่อจะวัดระดับความลึกของพื้นดินใต้พีระมิด          
เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.1967 บทความเรื่อง โครงการพีระมิด ของผู้เขียนปรากฏในนิตยสาร มอสโก คอมโซโมเลตซ์ โดยเขียนไว้ว่า            
การสำรวจทางวิทยาศาสตร์นี้ เรียกว่าความสัมพันธ์อันสดใสของการศึกษาอียิปต์โบราณ และฟิสิกส์สมัยใหม่
             
นักโบราณคดีและประวัติศาสตร์คาดหวังสิ่งใดจากการวัดระดับความลึกของพีระมิดกิซา อาจจะเป็นไปได้ว่าไม่มีสิ่งใดเลย หากรังสีเอกซ์ไม่ให้ผลลัพธ์ที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม หากค้นพบคลังเร้นลับ หรือหลุมศพนี้ได้ด้วยวิธีดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์อาจจะตื่นเต้นกับเหตุการณ์นี้ มากยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งเปิดหลุมพระศพของตุตานคาเมน อาจจะมีเรื่องราวใหม่ ๆ เพิ่มเติมในประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณ ซึ่งฉีกหายไปหลายหน้า
             
ในวันอาทิตย์ที่ 26 เดือนพฤศจิกายน หนังสือพิมพ์ฉบับเดิมได้ตีพิมพ์บทความอีกบทหนึ่งของผู้เขียน            เป็นเวลานับพัน ๆ ปีมาแล้ว ชาวอาหรับได้เขียนเรื่องผนังเคลื่อนที่ในระเบียงพีระมิด และเรื่องประตูลับที่เคลื่อนไปด้วยพลังบางอย่างที่ไม่มีใครทราบ มีเรื่องที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์ผู้เฝ้าสมบัติ และเรื่องแสงวาบในส่วนลึกของพีระมิด หากสิ่งเหล่านี้มิใช่เรื่องเล่าจาก พันหนึ่งราตรี และหากนักพงศาวดารอาหรับได้บันทึกอย่างซื่อสัตย์และแม่นยำแล้ว เรื่องดังกล่าวจะนำไปสู่การคาดคิดว่า อาจจะมีแหล่งกำเนิดพลังมหาศาลภายใต้พีระมิด หรือสฟิงซ์ อันเป็นแหล่งพลังในการสร้างปรากฏการณ์อันน่าอัศจรรย์เหล่านี้
             
เครื่องตรวจวัดและเครื่องนับไกเกอร์ที่ใช้กับการรบกวนสนามแม่เหล็กไม่มีค่านัก แต่ก็สามารถให้การค้นพบทางโบราณคดีอย่างที่คาดคิด
         
เมื่อปี ค.ศ.1969 การสำรวจรังสีคอสมิกที่กิซา ให้ผลลัพธ์ที่ไม่มีใครคาดถึง จอห์น ทันสตัลล์ เขียนไว้ในนิตยสารไทมส์ ฉบับวันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ.1996 ดังนี้
           
หากตัวตนจากโลกอื่น ๆ มาเยือนโลกเราในยุคสมัยที่ไม่มีใครจำได้ ก็จะเป็นที่กระจ่างชัดว่ามีผลพวงและเมล็ดพันธุ์ที่ไม่รู้จักแก่โลก ที่พระเจ้านำมาจากโลกอื่น
           
นักวิทยาศาสตร์ผู้กำลังทดลองใช้รังสีเอกซ์กับพีระมิดเคเฟรน ที่เมืองกิซาใกล้กับกรุงไคโร ต่างตกตะลึงกับอำนาจลับที่ก่อให้เกิดความสับสนอย่างยิ่งในการอ่านค่าของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยุคอวกาศ
             
อุปกรณ์ดังกล่าวตั้งแสดงไว้ในนิวยอร์ก จากความสำเร็จอย่างเด่นชัดและการตกลงสำหรับการร่วมงานโครงการพีระมิด ที่มีการลงนามเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 1966 และต้นปี 1967 อุปกรณ์การวัดรังสีคอสมิกก็มีการติดตั้งในหอเก็บพระศพ ที่แนวฐานของ
พีระมิดเคเฟรน        
เมื่อไปเมืองกิซาเป็นครั้งที่สอง จอห์น ทันสตัลล์ก็ขอสัมภาษณ์ด็อกเตอร์ อาร์ม โกเฮด นักวิทยาศาสตร์ชาวอาหรับ เกี่ยวกับการติดตั้งที่พีระมิดเคเฟรน โดยมีรายละเอียดดังนี้
         
ท่านให้เราได้ดูเครื่องบินไอบีเอ็ม 1130 ที่รายล้อมด้วยแผ่นดีบุกนับร้อยจากการบันทึกจากพีระมิด วางเรียงซ้อนเป็นชั้น ๆ ตามลำดับ แม้ในตอนแรกจะดูลังเลใจ แต่ท้ายสุดท่านก็บอกเราถึงทางตันอย่างสิ้นเชิงที่ท่านได้พบ
สิ่งที่เกิดขึ้นค้านกับกฎทั้งปวงของวิทยาศาสตร์และอิเล็กทรอนิกส์ ท่านกล่าว และหยิบแผ่นดีบุกที่บันทึกไว้เมื่อเดือนตุลาคม 1968 ติดเทปเข้ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งวาดรูปแบบของอนุภาครังสีคอสมิกบนแผ่นกระดาษ จากนั้นเราเลือกแผ่นที่บันทึกในวันต่อมาในเดือนตุลาคม วางไว้กับคอมพิวเตอร์ แต่รูปแบบที่บันทึกไว้นั้นต่างออกไปโดยสิ้นเชิง จุดที่โผล่ขึ้นซึ่งควรจะเกิดผลอย่างเดียวกันจากเทปแต่ละชั้นก็กลับไม่เกิดขึ้น
           
ท่านบอกว่า นี่เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็เกิดขึ้นแก่สายตานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายแล้ว
           
หลังจากพูดคุยอยู่นาน และดื่มกาแฟอาหรับไปหลายถ้วย ข้าพเจ้าได้ตั้งคำถามสุดท้ายแก่ด็อกเตอร์โกเฮด ความรู้จริงทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดนี้ กลับใช้ไม่ได้เลย เนื่องจากแรงบางอย่างนอกเหนือความเข้าใจของมนุษย์ใช่ไหม ? ท่านลังเลใจก่อนจะตอบและพูดว่า
           
ไม่ว่าจะเป็นเพราะคุณลักษณะทางเรขาคณิตของพีระมิด มีความคลาดเคลื่อนอย่างมาก และส่งผลกระทบแก่การอ่านค่าของเรา หรือว่ามีความลี้ลับที่นอกเหนือคำอธิบาย เราก็เรียกตามแต่ที่อยากจะเรียก อาจจะเป็นมนต์ไสย หรือคำสาปฟาโรห์ แต่ก็มีแรงบางอย่างอยู่ในพีระมิดที่ต่อต้านกฎทางวิทยาศาสตร์
             
นี่คือพัฒนาการอย่างสำคัญยิ่งที่เมืองกิซา สนามของแรงดังกล่าวมาจากไหน เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์อันลึกล้ำแขนงใดที่สร้างแรงนี้ขึ้นมา เมื่อฟิสิกส์สมัยใหม่ไม่อาจลดรังสีคอสมิกลงได้ วิศวกรสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงต้องมีศาสตร์ที่ลึกล้ำกว่าเราอย่างแน่นอนและด้วยเหตุนี้ กรุสมบัติแห่งสฟิงซ์จึงรอคอยการค้นพบอยู่

รายการบล็อกของฉัน