หน้าเว็บ

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ศาสตร์ก่อนยุควิทยาศาสตร์(ตอนที่2)

ศาสตร์ก่อนยุควิทยาศาสตร์(ตอนที่2)
Prior history of modern science 2
ภาพเชิงเทียนแห่งแอนดิส นักวิทยาศาสตร์บาท่าน
คาดว่า เป็นเครื่องมือวัดแผ่นดินไหวสมัยก่อนอินคา
ชาวแอซเต็กมีความรู้เรื่องหลักจราจร และการสำรวจสำมะโนประชากร ส่วนชาวอินคา มีระบบน้ำเสียและการจ่ายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และมีถนนสายหลักที่ดีที่สุดในโลกโบราณ ชาวทอลเท็กมีโครงการสร้างอาคารในระยะสี่ร้อยปีขณะที่ในปัจจุบันนี้ไม่มีชาติใดในโลก ไม่ว่าสังคมนิยมหรือทุนนิยม ที่จะวางแผนใด ๆ ในระยะยาวปานนั้น  คงจะไม่เกินความจริงไปนักที่กล่าวว่า ชาวเปรูโบราณทอผ้าได้ละเอียดอ่อนกว่าเครื่องทอสมัยใหม่เครื่องใดจะทำได้ ...มีการพบเครื่องประดับทองคำขาวบนฝั่งเอกวาดอร์ ข้อเท็จจริงเล็กน้อยนี้ก่อให้เกิดคำถามอันยิ่งใหญ่ขึ้น นั่นคือ ชาวอเมริกันอินเดียนทำอย่างไรจึงได้อุณหภูมิถึง 1,770 องศาเซนเซียส (เพื่อหลอมทองคำขาว) ในเวลาหลายพันปีมาแล้วนั้น ทั้ง ๆ ที่ชาวยุโรปได้รับผลสำเร็จนี้เพียงเมื่อสองร้อยกว่าปีมานี้เอง ...ในเรื่อง เงาแห่งแอตแลนติส (The Shadow of Atlantis) บรักไฮน์ ได้บรรยายถึงวัตถุประหลาดที่พบในเอสมิรัลดา บนฝั่งทางเหนือของเอกวาดอร์ในบรรดาของอื่น ๆ มากมาย

ในบรรดาสมบัติสะสมของเอร์เนสโต ฟรังโค มีกระจกหินออบซีเดียนสีเขียวเข้ม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว รูปร่างเป็นเลนส์นูน เหมาะมากที่จะให้ส่องใบหน้าคนที่มีผมน้อยมาก แต่งานเรื่องแสงนี้ต้องการความเชี่ยวชาญทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอันก้าวหน้า แล้วกระจกนี้สร้างจากที่ใด ?
ในเทือกเขาแอนดิส ทางใต้ของเมืองลิมา ประเทศเปรู ในอ่าวปิสโก เมื่อผู้บุกรุกในศตวรรษที่สิบหกพบ เครื่องหมายอันน่าอัศจรรย์ รูปกางเขนสามอัน ซึ่งดูคล้ายสามง่ามต่อก้านของเทพเนปจูนมาก ภาพดังกล่าวสลักบนหินสูง 810 ฟุต และเห็นได้จากระยะไกล 12.5 ไมล์      
ควิปู เครื่องมือบันทึกของชาวอินคา
จุดหมายและความหมายของโคมไฟแห่งแอนดิสนี้ ยังคงคลุมเครืออยู่ กระทั่ง เบลตรัน การ์เซีย นักวิทยาศาสตร์ชาวสเปนได้เสนอทฤษฎีขึ้นมา เขาเชื่อว่าสามง่ามดังกล่าวนั้น มีใช้ในหมู่ชาวอินคา หรือชนรุ่นหลัง เป็นเครื่องมือวัดขนาดยักษ์ เพื่อวัดแผ่นดินไหว ไม่ใช่แค่ในเปรูเท่านั้น หากยังวัดแผ่นดินไหวทั่วโลกด้วย ข้ออธิบายนี้จะใกล้เคียงความจริงมากกว่าข้อสันนิษฐานของผู้ปกครองชาวสเปน ที่คิดว่าเป็นไม้กางเขนสามอัน ที่พระผู้เป็นเจ้าสลักไว้เพื่อขอบใจชาวคริสต์ที่พิชิตอเมริกาได้

 แม้จะมีรูปแบบอารยธรรมที่สูง แต่ชาวอินคาก็กลับไม่มีการเขียน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ เพราะการเขียนและวรรณกรรมนั้นเป็นเครื่องหมายของความงอกเงยทางวัฒธรรม แทนที่พวกเขาจะมีตัวอักษรก็กลับมีควิปู ซึ่งเป็นระบบที่ซับซ้อน เป็นอุปกรณ์ที่มีสายและมีสีสันต่าง ๆ และผูกเป็นเงื่อน ช่วยเลียนเสียง และเป็นอุปกรณ์บันทึก ระบบที่น่าแปลกของผู้คนสมัยก่อนอินคานี้ มีใช้ในการคำนวณ สถิติ และวรรณกรรม สายและเงื่อนนั้นทำให้ผู้เล่าเรื่องนึกถึงเรื่องที่เกิดขึ้นต่อมาได้ เครื่องเลียนเสียงนี้ อาจมองได้ว่าเป็นการสะท้อนจากเทคโนโลยีทีสูญไป ซึ่งอาจเป็นการใช้คอมพิวเตอร์อิเล็คทรอนิกส์ หลังจากศูนย์กลางการผลิตอุปกรณ์นี้หายไป ผู้เหลือรอดจากน้ำท่วมแอตแลนติสในอเมริกาใต้ก็นำวิธีการง่าย ๆ ของการบันทึกโดยใช้ควิปู อันเป็นเพียงการจำลองแบบเครื่องคำนวณ และเครื่องบันทึกในกาลก่อนของตน

 ปริศนาทางวิทยาศาสตร์เช่นควิปูนั้น ไม่ได้ตรึงอยู่กับทวีปหรือชาติใดชาติหนึ่งเท่านั้น คราวนี้ขอเราข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปสำรวจยังประเทศจีน

นักประวัติศาสตร์ชาวจีนนั้น ไม่เคยเลยที่จะพยายามเอาใจผู้ปกครองด้วยการกล่าวเกินจริง หากแต่ชอบจะแก้ไขบันทึกทางประวัติศาสตร์ ดังที่เกิดขึ้นกับนักเขียนประวัติศาสตร์แห่งชี เมื่อ 547 ปี ก่อนคริสตกาล นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า เหตุใดพงศาวดารของจีนจึงเป็นไปอย่างละเอียดจริงจังนัก แม้จะพรรณนาเรื่องที่ดูเหมือนเกินจริงมากก็ตาม
ควิปู ที่มีอายุเก่าแก่
ชาวจีนโบราณมีเครื่องฉายรังสีเอกซ์หรือ ? คำถามนี้ดูเหมือนจะโง่เง่าที่สุด แต่จักรพรรดิจิ๋นซี (259 - 210 ปี ก่อนคริสตกาล) มีกระจกเงา ที่ส่องทะลุกระดูกในร่างกายได้ กระจกเงาดังกล่าวอยู่ในพระราชวังเฮี่ยนหยาง ในเมืองส่านซี เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล และมีการเขียนตั้งแต่สมัยนั้นว่า เป็นกระจกสี่เหลี่ยมกว้าง 4 ฟุต สูง 5 ฟุต 9 นิ้ว แวววาวสดใสทั้งด้านนอกและด้านใน เมื่อคนยืนข้างหน้าจะเห็นภาพสะท้อน ภาพนั้นจะกลับซ้ายขวา เมื่อคนนั้นวางมือบนหัวใจ เขาจะเห็นอวัยวะภายในห้าชิ้น และไม่มีอะไรขวางอยู่เลย เมื่อใครมีโรคภัยอยู่ภายในอวัยวะ เขาจะรู้ได้ด้วยการมองเข้าไปในกระจก และวางมือลงบนหัวใจ

ประมาณ 250 ปีก่อนสมัยจักพรรดิ์จิ๋นซี แพทย์อินเดียผู้สามารถท่านหนึ่งชื่อ ชีวะกะ มีแก้ววิเศษ ซึ่งมีอำนาจให้รังสีเรินต์แกน (เอกซ์เรย์) ผ่านเข้าไปในร่างกายมนุษย์ บันทึกทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมื่อวางไว้เบื้องหน้าคนไข้ จะทำให้ร่างกายสว่างเหมือนกับตะเกียงที่ส่องสว่างไปทั่วทั้งบ้าน จักรพรรดิ์จิ๋นซี และหมอชีวะกะนั้น ได้ความรู้นี้มาจากที่ใด ในเมื่ออีก 2,200 ถึง 2,500 ปีต่อมา จึงมีเครื่องมือดังกล่าวใช้กันทั่วไป
           
 ใน สักตยครันธัม ซึ่งอยู่ในพระเวทของอินเดีย มีเรื่องการทำวัคซีนและบรรยายถึงผลของวัคซีนนั้น คำถามก็คือ พราหมณ์ได้ค้นพบเรื่องราวในทางชีววิทยานี้ในเวลา 4,000 ปีก่อนสมัยของเจนเนอร์ได้อย่างไร ?
           
นับเป็นเรื่องแปลก ที่อ่านพบเรื่องรังสีเอกซเรย์ในสมัยพุทธกาล และวัคซีนเมื่อ 2,000 ปีก่อนสมัยพระเยซูคริสต์ และยิ่งแปลกมากขึ้นเมื่อพบข้อเท็จจริงทางดาราศาสตร์ที่น่าตื่นเต้น ในคัมภีร์ของบาบิโลนโบราณ
เซอร์ออสเตน เฮนรี ลายาร์ด 
(ค.ศ.1817 - 1894)นักโบราณคดีผู้ขุดค้น
อารยธรรมโบราณแห่งเมโสโปเตเมีย
ชาวบาบิโลนทราบเรื่อง แตรของวีสัส (พระศุกร์) พวกเขาเขียนถึงส่วนเสี้ยวของดาวเคราะห์นี้ เนื่องจากดาวศุกร์อยู่ใกล้พระอาทิตย์มากกว่าโลก จึงแสดงส่วนเสี้ยวคล้ายกับพระจันทร์ แต่ แตรของวีนัส นี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คำถามที่น่าสนใจก็คือ นักบวชบาบิโลนโบราณเฝ้าดูเสี้ยวดาวพระศุกร์ได้อย่างไรโดยไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ นอกจากนี้พวกเขายังรู้จักพระจันทร์ขนาดใหญ่ของดาวพฤหัสบดี (จูปีเตอร์) นั่นคือดวงจันทร์ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด และคาลลิสโต ขณะที่เมื่อกาลิเลโอประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ มนุษยชาติก็ยังไม่ทราบอะไรเกี่ยวกับวัตถุเหล่านี้ หรือจะกล่าวให้ชัดเจนก็คือ ชาวบาบิโลนไม่ควรจะมีความรู้เหล่านี้

มีข้ออธิบายสองประการถึงการสังเกตทางดาราศาสตร์เหล่านี้ อันเกี่ยวกับเสี้ยวดาวพระศุกร์และดวงจันทร์ใหญ่สี่ดวงของดาวพฤหัสบดีที่เห็นในสมัยโบราณ ทฤษฎีแรกคือ นักบวชชาวบาบิโลนมีกล้องโทรทรรศน์ ทฤษฎีนี้ออกจะข้าง ๆ คู ๆ อย่างไรก็ตาม ในบริติชมิวเซียมก็มีผลึกหินที่น่าสนใจรูปไข่ และพื้นผิวรูปนูนด้านหนึ่ง เรียบด้านหนึ่ง เซอร์เอ. เฮนรี ลายาร์ด เป็นผู้ค้นพบผลึกหินนี้ ในช่วงการขุดค้นพระราชวังซาร์กอนที่นิเนเวห์ ท่านเซอร์เดวิด บริวสเตอร์เสนอว่า จานผลึกนี้เป็นเลนส์ แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่คัดค้านทฤษฎีนี้...สมมติฐานที่สองก็คือ ในหลายชั่วอายุคน นักบวชแห่งคาลเดียและซูเมอร์ได้เก็บรักษาองค์ประกอบทางดาราศาสตร์สมัยก่อนน้ำท่วมไว้ เราคงต้องมีความคิดอยู่ในใจว่า นักพรตแห่งบาบิโลนมิได้เป็นเพียงนักบวชเท่านั้น หากแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วย ดาราศาสตร์ของพวกบาบิโลนนั้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับศาสนา และใช้เป็นการพิจารณาเลือกให้เป็นนักบวช
ชาวอียิปต์โบราณมีอักษรพิเศษบอกจำนวนล้าน กระทั่งสมัยของเดการ์ตและไลบ์นิตซ์ในศตวรรษที่สิบเจ็ด โลกสมัยใหม่เพิ่งจะรับแนวคิดจำนวนล้านในคณิตศาสตร์ ส่วนนักคณิตศาสตร์ชาวบาบิโลนโบราณใช้ตัวเลขจำนวนมาก ๆ โดยใช้ตารางคำนวณ เมื่อนับพัน ๆ ปีก่อนนี้ ในห้องสมุดของบาบิโลนจะมีแผ่นตำราที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากยุคอดีต หากการคะเนนี้ถูกต้องแล้ว ก็เป็นอันชัดเวจนว่า เหตุใดพวกเขาทราบเรื่องเสี้ยวดาวพระศุกร์และพระจันทร์ของดาวพฤหัสบดี 
หอสังเกตดวงดาวในเม็กซิโก
ชาวแอซเต็กรู้เรื่องเกี่ยวกับทรงกลมของดาวเคราะห์ และเล่นลูกบอลเลียนการเหวี่ยงดาวไปทั่วฟ้าของพระเจ้า โดกอน ในแอฟริกา ผู้มีระบบการเมืองโดยพระเจ้า และมีธรรมเนียมโบราณ พวกเขารู้จักดาวคู่ของดาวซิริอุส ที่อยู่ไกลออกไปจากโลกเกือบเก้าปีแสง และเห็นได้จากกล้องโทรทรรศน์เท่านั้น นอกจากนี้ชาวเมดิเตอร์เรเนียนยังรู้จักกลุ่มดาวเพลียดเดสมากเกินกว่าเจ็ดดวงที่เห็นด้วยตาเปล่า ความทรงจำของคนเหล่านี้ ได้จากศาสตร์ที่สาบสูญไป ใช่หรือไม่ ?
             
ในการศึกษาดาราศาสตร์ในสมัยแรก ๆ ความแม่นยำในการคำนวณการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ของคนโบราณนั้น เป็นที่น่าสงสัยแก่นักดาราศาสตร์อยู่เสมอ เพราะสมัยนั้นไม่อาจคำนวณด้วยเครื่องได้
           
หนังสือฮวยหนานซือ (120 ปีก่อนคริสตกาล) และลุนเหิงของหว่างจุง (ค.ศ.82) กล่าวถึงการกำเนิดจักรวาลศูนย์กลาง โลกที่แข็งตัวได้หลุดออกมาจากระลอกคลื่นหมุนวนนั้น เป็นสสารอย่างแรก งานเขียนของชาวจีนโบราณเหล่านี้ให้แนวคิดแก่คนสมัยใหม่ถึงการก่อกำเนิดของกาแลกซี            
เราจึงเผชิญหน้ากับทางเลือกสองประการ นั่นคือการยอมรับว่ามีเครื่องมือทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในโลกโบราณ หรือตั้งสมมติฐานว่านักบวชแห่งบาบิโลน อียิปต์ หรืออินเดีย ต่างเป็นผู้พิทักษ์ศาสตร์ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ที่มีความเก่าแก่อย่างน้อยหมื่นปี....

รายการบล็อกของฉัน