หน้าเว็บ

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ศาสตร์ก่อนยุควิทยาศาสตร์(ตอนที่1)

ศาสตร์ก่อนยุควิทยาศาสตร์(ตอนที่1)
Prior history of modern science 1
ลวดลายบนผ้าโบราณที่วิจิตรบรรจง จากเปรู มีอายุราว ค.ศ.200   
 ภาพเขียนหินใน กันชาล เด มาโฮมา และ อาบรี เด ลาส วินาส ประเทศสเปน แสดงถึงร่องรอยลึกลับ งานประดิษฐ์จากงาช้างแมมมอธจากกอนต์ซีในยูเครน มีอายุถึงยุคน้ำแข็ง กลับมีร่องรอยประหลาดปรากฏอยู่ ภาพสลักหรือภาพวาดนับพันเหล่านี้ กระจัดกระจายไปทั่วยุโรป และทำให้นักโบราณคดีและนักมานุษยวิทยาต้องสับสนงุนงงเป็นเวลานาน
             
อะเล็กซานเดอร์ มาร์ชาคเขียนไว้ในบทความหนึ่ง ในนิตยสาร Science ว่าเครื่องหมายที่น่าฉงนนี้เป็นเครื่องหมายแทนการสังเกตดวงจันทร์ที่ถูกต้องแม่นยำ เมื่อสมัยนับพัน ๆ ปีก่อนสมัยประวัติศาสตร์ ข้อมูลต่าง ๆ ได้กระตุ้นเตือนให้อะเล็กซานเดอร์ มาร์ชาค พยายามจะประเมินค่าใหม่ของการมองสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คำถามได้บังเกิดขึ้นจากหลักฐานเครื่องหมายพระจันทร์นี้ ซึ่งมีอยู่ในยุคหินเก่าช่วงต้น ต่างมีความสำคัญและมีอยู่จำนวนมาก เครื่องหมายดังกล่าวทำให้ต้องประเมินค่าใหม่ของกำเนิดวัฒนธรรมมนุษย์ อันรวมถึงกำเนิดศิลปะ สัญลักษณ์ ศาสนา พิธีกรรม และดาราศาสตร์ และทักษะอันเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในช่วงต้นของยุคเกษตรกรรม
ดินเหนียวจารึกของบาบิโลน
เครื่องหมายและเหตุการณ์จากเครื่องหมายเหล่านี้ มีอายุย้อนไปถึงยุคหินเก่าช่วงต้น ย้อนเลยไปจากวัฒนธรรมอะซิเลียนยุคหินกลาง ไปถึงมักดาเลเนียน และออริกนาเซียน ดังนั้นมาร์ชาคจึงสรุปไว้อย่างถูกต้องว่า หลักฐานที่มีรวมกันของความรู้เรื่องพระจันทร์ หรือพระจันทร์กับพระอาทิตย์ในอารยธรรมเกษตรกรรมช่วงต้น ที่ได้กระจายข้ามดินแดนอันยิ่งใหญ่แห่งยูเรเซีย แตกแขนงไปสู่แอฟริกา และกระจายสู่ผู้คนเผ่าต่าง ๆ ที่พูดภาษาต่าง ๆ กัน ได้ก่อให้เกิดคำถามว่า มีแบบแผนและทักษะทางดาราศาสตร์พื้นฐานในสมัยเก่าก่อนเชียวหรือ
หนังสือ โพโพล วูห์ แห่งกัวเตมาลา ประกอบด้วยบันทึกความสำเร็จของมนุษย์ในยุกเริ่มแรก และกล่าวว่า พวกเขาเฝ้าสนใจการเปลี่ยนส่วนโค้งของท้องฟ้า และพื้นผิวกลมของโลก พวกเขามีความรู้เชี่ยวชาญยิ่งนัก คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวยังเสริมอีกว่า เห็นวัตถุน้อยใหญ่ในท้องฟ้าและบนโลก
             
นับเป็นเรื่องแปลกแต่จริง ที่การตำต่ำของอารยธรรมความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้น บางครั้งก็อยู่เหนือระดับปัญญาแห่งยุคสมัย เรื่องเหล่านี้เราพิจารณาได้จากมรดกจากโลกโบราณก่อนน้ำท่วม ร่องรอยของวัฒนธรรมผู้เชี่ยวชาญนี้ยังคงเมีอยู่หลังภัยพิบัติครั้งยิ่งใหญ่ นี่คือเหตุผลที่มีการศึกษาแหล่งโบราณต่าง ๆ ในบทนี้ ยิ่งเราก้าวลึกลงไปในอดีตเพียงใด เราก็จะยิ่งใกล้กับอารยธรรมที่สูญไปมากเท่านั้น

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (1879 -1955)              
ศาสตราจารย์เฟรเดริก โซดดีเขียนไว้เมื่อ ค.ศ.1909 ว่า พลังงานปรมาณูนั้นเป็นพลังเคลื่อนเบื้องหลังเทคโนโลยีสมัยก่อนน้ำท่วมโลก เขากล่าวว่า เผ่าพงศ์ที่จะเปลี่ยนสภาพสสาร จะมีความต้องการรับอาหารเล็กน้อย เท่ากับเหงื่อบนคิ้วเท่านั้น เผ่าพงศ์ดังกล่าวจะแปลงสภาพทวีปอันแห้งแล้งเปลี่ยนขั้วโลกน้ำแข็ง และสร้างโลกทั้งปวงเป็นสวนแห่งอีเดนอันรื่นรมย์
             
ในมอสโก ผู้เขียนได้ยินเรื่องชีวประวัติของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ว่า ผู้คิดทฤษฎีสัมพัทธภาพ ท่านนี้ได้เสนอความคิดในทำนองเดียวกันนี้ว่า อำนาจนิวเคลียร์เป็นเพียงการค้นพบใหม่เท่านั้น กล่าวกันว่าบรรณาธิการที่ตรวจต้นฉบับตัดสินใจตัดข้อความดังกล่าวไม่ลงพิมพ์ บทความนี้ ไอน์สไตน์ เขียนไว้ก่อนถึงแก่กรรมไม่นานนัก
             
ศาสตราจารย์เฟเดริก โซดดี เห็นภัยพิบัติในอดีต เมื่อมนุษยชาติตัดสินฐานะของธรรมชาติและของมนุษย์ผิดไป หลังจากความผิดพลาดนี้ โลกทั้งโลกก็จมเข้าสู่สภาพดังเดิม จากนั้นมนุษยชาติก็เริ่มตรากตรำเดินทางไปข้างหน้าผ่านยุคสมัยต่าง ๆ ตำนานการตกต่ำลงของมนุษย์อาจจะเป็นเรื่องของภัยพิบัติในอดีตดังกล่าวนั้นจริง ๆ ศาสตราจารย์โซดดีผู้ได้รับรางวัลโนเบลแถลง
             
ยังมีความสัมพันธ์ที่ไม่อาจอธิบายได้ ระหว่างกำเนิดของวัฒนธรรมในสมัยเก่าก่อนไกลโพ้น เราไม่อาจอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยการยืมผู้คนมาจากที่อื่น เพราะระยะห่างทางภูมิศาสตร์อันกว้างใหญ่ไพศาลเป็นตัวกีดขวางอยู่
             
โลกที่เร้นลับจะต้องอยู่นอกเหนือจากพรมแดนทางประวัติศาสตร์ โลกนั้นจะต้องให้พลังขับดันอย่างแรกแก่อารยธรรมทั้งปวงในสมัยต่อมา ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าชาวโรมัน กรีก บาบิโลน และอียิปต์โบราณต่างเป็นครูของโลกสมัยใหม่ แต่ผู้เป็นครูของครูของชาวอียิปต์ บาบิโลน กรีก นั้นเป็นใคร ตอบตามตำนานก็คือ ชาวแอตแลนติส เหล่านี้คือ การสะท้อนและข้อสรุปของ วาเลรี บริวซอฟ ชาวรัสเซียผู้บุกเบิกเรื่องแอตแลนติส
         
ขณะที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า ความก้าวหน้าของมนุษย์นั้นเป็นกระบวนการวิวัฒนาการ สัดส่วนความสำเร็จของเรานั้นในขั้นต้นนั้นสืบทอดไปยังคนรุ่นหลังที่เหลือรอดจากยุคน้ำท่วม ไม่ใช่ว่าการบรรลุผลสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดจะเป็นมรดกจากแอตแลนติส การเติบโตของมนุษย์จากยุคน้ำแข็งก่อนน้ำท่วมที่ยังไม่มีวัฒนธรรม จนถึงวัฒนธรรมอียิปต์และซูเมอร์นั้น เป็นผลลัพธ์จากองค์ประกอบทางสังคมโดยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ขณะที่การค้นพบบางอย่างของมนุษย์ในสมัยต้น ๆ เป็นเครื่องหมายบอกถึงความก้าวหน้า แต่การค้นพบบางอย่างก็เป็นเพียงการค้นพบซ้ำ ที่กระตุ้นจากยุคทองและสิ่งน่าอัศจรรย์ในยุคนั้นเท่านั้น
           
นับเป็นเรื่องยากที่จะลากเส้นแบ่งเขตระหว่างผลผลิตจากความฉลาดของมนุษย์ และมรดกจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยังมีข้อเท็จจริงที่ว่า การบรรลุผลทางวิทยาศาสตร์บางประการของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ไม่อาจจะถือเป็นการสร้างสรรค์ของจิตใจมนุษย์ เพราะสภาพเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมยังไม่สุกงอมพอ ความก้าวหน้าที่ยังไม่สุกงอมพอนี้ได้แก่รังสีเอกซ์ ยานอวกาศโบราณ และการค้นพบทางดาราศาสตร์โดยไม่ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์
           
เมื่อพวกคอร์เตสบุกรุกเม็กซิโกใน ค.ศ. 1520 ปฏิทินของเขาช้ากว่าของแอซแต็ก และเวลาทางดาราศาสตร์จริงไปสิบวัน พูดในเชิงประวัติศาสตร์ก็คือ ดาราศาสตร์ของโลกเก่านั้นอยู่เบื้องหลังดาราศาสตร์ของโลกใหม่นั่นเอง  ไม่น่าเชื่อเลยที่จะกล่าวไว้ในศตวรรษที่ยี่สิบนี้ว่า ปฏิทินของมายานั้นมีความถูกต้องแม่นยำกว่าของเรา เพราะให้ค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับปีสมบูรณ์อย่างมาก ดังแสดงให้เห็นต่อไปนี้

   การคำนวนตามเวลาจริง   365.242198   วันในหนึ่งปี
   ปฏิทินของมายา               365.242129   วันในหนึ่งปี
   ปฏิทินของกรีกอเรียน    365.242500   วันในหนึ่งปี (ปฏิทินของเรา)
ปฎิทินมายา
ที่มากกว่านั้นก็คือ ในพงศาวดารอันละเอียดลออของของชาวมายา จะมีวันซ้ำเดิมก็เมื่อเวลาผ่านครอบหนึ่งรอบ คือ 256 ปี เท่านั้น ไม่ต้องบอกเลยว่าปฏิทินของมายานั้นเป็นเลิศกว่าที่เราใช้ทุกวันนี้มากนัก
             
อีเกอร์ตัน ไซกิส กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญก็คือการรับรู้ความจริงว่า ชาวมายาได้ก้าวไปสู่แผ่นดินใหญ่ โดยมีความสมบูรณ์ในควมมรู้ทางการเขียน คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ สถาปัตยกรรม การแพทย์ และระบบปฏิทินที่มีความแม่นยำยิ่งกว่าที่ใช้ในยุโรปกระทั่งศตวรรษที่สิบแปด ข้อสมมติฐานทั่วไปที่ว่า ชาวมายามีความรู้ก้าวหน้าไปราวร้อยปี ขณะที่โลกตะวันตกใช้เวลาสองร้อยปีหรือมากกว่านั้น สำหรับข้าพเจ้าแล้วถือว่าไม่เกี่ยวกัน ไม่ว่าเรื่องการสืบต่อทางประวัติศาสตร์หรือกับสามัญสำนึกก็ตาม
คอตตี้ เอ. เบอร์แลนด์ ผู้เคยทำงานที่บริติชมิวเซียม ได้รายงานแก่สภานินิบัญญัติแห่งชาติของอเมริกา ที่จัดในกรุงปารีส เมื่อ ค.ศ.1956 ว่า จารึกหลัก 1 เอล คาสติลโลนั้น ซานตา ลูเวีย คอตซูมาอวลปา ได้บันทึกภาพจุดโคจรของดาวศุกร์บนจานพระอาทิตย์ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 416 ความแม่นยำของนักดาราศาสตร์กัวเตมาลาโบรานนั้นน่าตื่นเต้นแปลกใจอย่างยิ่ง เพราะการพัฒนาศาสตร์อย่างหนึ่งนั้น ต้องใช้เวลานับศตวรรษ ๆ แล้วนักบวชในอเมริกากลางนำหลักวิทยาศาสตร์เหล่านี้มาจากที่ใด ?

รายการบล็อกของฉัน