หน้าเว็บ

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563

ชาวมายันโบราณบันทึกการโคจรของดาวศุกร์ก่อนโคเปอร์นิคัสหลายร้อยปี

ค้นหา
Custom Search
ส่วนภาพนี้คือหอดูดาวที่
เมืองชีเชนอิตซา
ชาวมายันโบราณบันทึกการโคจรของดาวศุกร์ก่อนโคเปอร์นิคัสหลายร้อยปีนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ 
ได้เสนอทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ เมื่อกลางศตวรรษที่ 15 นำไปสู่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่ชาวมายันโบราณได้ค้นพบวิถีการโคจรของดาวศุกร์ก่อนหน้านั้นหลายร้อยปี....
เอกสารมายันโบราณได้บันทึกช่วงเวลาสำคัญที่นักดาราศาสตร์ผู้เปรียบเสมือนโคเปอร์นิคัสแห่งอาณาจักรมายาได้มีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการโคจรของดาวศุกร์ข้ามท้องฟ้ายามค่ำคืน

เอกสารนี้เรียกว่า Dresden Codex ซึ่งมีการระบุตำแหน่งขึ้นและตกของดาวศุกร์อย่างละเอียด และจากบันทึกดังกล่าวนักประวัติศาสตร์สามารถระบุได้ว่านักดาราศาสตร์คนนี้มีชีวิตอยู่ในช่วง 25 ปีของครึ่งแรกของศตวรรษที่ 10

“เราทราบถึงช่วงเวลาที่คนผู้นี้รวบรวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน” Gerardo Aldana นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย กล่าว

เอกสาร Dresden Codex เป็นอักษรภาพอันงดงามของชาวมายันจำนวน 39 หน้าที่มีเรื่องราวแต่หนหลังอันน่าทึ่ง มันถูกนำออกจากคาบสมุทรยูคาตัน ไปสู่ห้องสมุดเมืองเดรสเดน ประเทศเยอรมัน ในช่วงทศวรรษ 1730 จากนั้นในช่วงปลายทศวรรษ 1800 Ernst Förstemann นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ที่ไม่มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ของชาวมายันเลย ได้เปิดดูตารางในเอกสารนี้ที่หน้า 24 แล้วได้สรุปว่าเป็นตารางแสดงการวัดตำแหน่งดาวศุกร์ แม้ว่าจะไม่มีใครในเวลานั้นที่สามารถถอดรหัสอักษรโบราณของชาวมายันได้

จากนั้นในปี ค.ศ. 1920 วิศวกรเคมี John Teeple ได้พิจารณาเอกสารและตัวเลขต่างๆอย่างละเอียดและประจักษ์ชัดว่าชาวมายันได้ใช้เทคนิคพิเศษในการแก้ไขความคลาดเคลื่อนในปฏิทินของพวกเขาที่เกิดจากวงโคจรที่ผิดปกติของดาวศุกร์ คล้ายกับที่เรามีปีอธิกสุรทินในปฏิทินปัจจุบัน

ในการวิจัยครั้งใหม่นี้ Aldana วิเคราะห์อักษรภาพและตารางตำแหน่งดาวศุกร์ในเอกสาร Dresden Codex อย่างละเอียด จึงได้ข้อสรุปว่า 
มีนักดาราศาสตร์ชาวมายัน
ผู้หนึ่งได้จัดทำแบบจำลองเพื่อใช้บอกตำแหน่งของดาวศุกร์ในตอนกลางคืนได้เป็นเวลาหลายร้อยปี โดยนักดาราศาสตร์ที่ไม่ทราบชื่อผู้นี้ทำงานด้วยความพยายามเป็นเวลา 25 ปี ในระหว่างช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 10 ที่เมืองชีเชนอิตซา ประเทศเม็กซิโก 

ภาพบนสุดเป็นพีระมิดเอลกัสตีโยแห่งชีเชนอิตซา 
นอกจากนี้ตารางตำแหน่งดาวศุกร์ยังตรงกันกับการวัดตำแหน่งดาวศุกร์อีกชุดหนึ่งที่พบในเอกสารจากอารยธรรมมายาโบราณที่เรียกว่า Copán ซึ่งในตอนนี้คือประเทศฮอนดูรัส เอกสารนี้ถูกเขียนขึ้น 200 กว่าปีก่อน

👉เอกสาร Dresden Codex แสดงให้เห็นว่าชาวมายันได้เก็บข้อมูลทางดาราศาสตร์มานานหลายศตวรรษสำหรับนักวิทยาศาสตร์ในอนาคตที่จะวิเคราะห์ข้อมูล

รายการบล็อกของฉัน