หน้าเว็บ

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566

น้ำพุเตรวี น้ำพุแบบบาโรกที่ใหญ่ที่สุดและความเชื่อโยนเหรียญลงไปในน้ำพุหากใครทำเช่นนี้แล้วจะได้กลับมาเยือนกรุงโรมอีก

น้ำพุเตรวี น้ำพุแบบบาโรกที่ใหญ่ที่สุดและความเชื่อโยนเหรียญลงไปในน้ำพุหากใครทำเช่นนี้แล้วจะได้กลับมาเยือนกรุงโรมอีก

น้ำพุเตรวี (อิตาลี: Fontana di Trevi) เป็นน้ำพุที่ตั้งอยู่ที่เขตเตรวีในกรุงโรมในประเทศอิตาลี เป็นน้ำพุที่มีความสูง 25.9 เมตร (85 ฟุต) และกว้าง 19.8 เมตร (65 ฟุต) และน้ำพุแบบบาโรกที่ใหญ่ที่สุดในกรุงโรม

ประวัติก่อน ค.ศ. 1629 ของสะพานส่งน้ำและที่ตั้งของน้ำพุ
น้ำพุเตรวีตั้งอยู่ตรงทางสามแพร่ง (tre vie) ที่เป็นจุดจบ ของสะพานส่งน้ำแวร์จิเน (Acqua Vergine) “สมัยใหม่”, สะพานส่งน้ำเวอร์โก (Aqua Virgo) และสะพานส่งน้ำของโรมันโบราณ ในปี 19 ก่อนคริสต์ศักราชมีตำนานที่ว่าเจ้าหน้าที่โรมันพบแหล่งน้ำสะอาดราว 13 กิโลเมตรจากตัวเมืองด้วยความช่วยเหลือของสาวพรหมจารี (ภาพนี้ปรากฏอยู่ด้านหน้าของน้ำพุปัจจุบัน) แต่เมื่อสร้างสะพานส่งน้ำขึ้นสะพานก็ยาวถึง 22 กิโลเมตร

สะพานส่งน้ำ “สะพานส่งน้ำเวอร์โก” นี้ส่งน้ำมายังโรงอาบน้ำของมาร์คัส วิพซานิอัส อกริพพา และใช้เป็นสะพานส่งน้ำสำหรับเมืองโรมเป็นเวลากว่าสี่ร้อยปี การเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวเมืองโรมเกิดขึ้นเมื่อชนกอธที่ล้อมกรุงโรมระหว่างปี ค.ศ. 537 ถึงปี ค.ศ. 538 ทำลายสะพานส่งน้ำ โรมันยุคกลางจึงต้องหันมาใช้น้ำจากบ่อและจากแม่น้ำไทเบอร์ซึ่งใช้เป็นท่อระบายน้ำโสโครกไปด้วย

ประเพณีโรมันคือการสร้างน้ำพุอันสง่างามตรงปลายสุดของสะพานส่งน้ำมารื้อฟื้นกันอีกครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในปี ค.ศ. 1453 สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ก็ทรงซ่อมสะพานส่งน้ำแวร์จิเนเสร็จและทรงสร้างอ่างน้ำพุง่ายๆ ที่ออกแบบโดยสถาปนิกมนุษย์นิยมลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติเพื่อเป็นการฉลองน้ำที่มาถึง

น้ำพุปัจจุบัน
การว่าจ้าง, การก่อสร้าง และ การออกแบบ

“น้ำพุเตรวี” จากด้านซ้าย
ในปี ค.ศ. 1629 สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 ก็ทรงพบว่าน้ำพุเดิมไม่ใหญ่โตพอ พระองค์จึงทรงให้จานโลเรนโซ แบร์นินีออกแบบน้ำพุใหม่ แต่เมื่อเออร์บันสิ้นพระชนม์โครงการก็ระงับไป สิ่งที่แบร์นินีทำคือย้ายที่ตั้งของน้ำพุไปทางอีกด้านหนึ่งของจตุรัสให้หันไปทางวังคิรินาล (Quirinal Palace)

แม้ว่าโครงการของแบร์นินีจะเป็นการรื้อทิ้งสำหรับน้ำพุซาลวิ แต่ก็ยังมีร่องรอยของแบร์นินีในน้ำพุที่สร้างใหม่ ร่างที่ออกแบบโดยเปียโตร ดา คอร์โทนาก็ยังคงรักษาไว้ที่อัลแบร์ตินาในเวียนนาและอีกหลายแบบที่เขียนกันในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่ไม่ได้ลงชื่อ และโครงการที่เชื่อกันว่าเป็นของนิโคลา มิเคตติ อีกแบบหนึ่งเชื่อว่าออกโดยเฟอร์ดินานโด ฟูกา and a French design by Edme Bouchardon.

ระหว่างสมัยบาโรกก็มีการแข่งขันออกแบบสิ่งก่อสร้างต่างๆ กันขนานใหญ่ที่รวมทั้งน้ำพุและแม้แต่บันไดสเปน ในปี ค.ศ.1730 สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 12 ก็ทรงจัดการแข่งขันออกแบบที่นิโคลา ซาลวิเดิมแพ้แก่อเลสซานโดร กาลิเลอิ — แต่ประชาชนโรมก็ประท้วงเพราะกาลิเลอิเป็นชาวฟลอเรนซ ซาลวิจึงกลับมาได้รับสัญญาจ้างแทนที่ การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1732 และเสร็จในปี ค.ศ. 1762 นานหลังจากพระสันตะปาปาคลีเมนต์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว

เมื่อประติมากรรมโอเชียนัส (เทพเจ้าแห่งน้ำ) โดยปิเอโตร บรัคชิ (Pietro Bracci) ได้รับการติดตั้งในช่องกลางน้ำพุ

ซาลวิเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1751 เมื่อน้ำพุสร้างไปได้เพียงครึ่งหนึ่ง แต่ก่อนที่จะเสียชีวิตซาลวิก็จงใจที่จะซ่อนป้ายช่างตัดผมที่ไม่ต้องตาโดยการซ่อนอยู่ข้างหลังแจกันใหญ่ที่เรียกว่า “asso di coppe”

น้ำพุเตรวีสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1762 โดยโจวานนิ เปาโล ปานนินิ (Giovanni Paolo Pannini) ผู้สร้าง “ทริเวีย” สาวพรหมจารีแทนที่อุปมานิทัศน์ของอกริพพาที่วางไว้แต่เดิม

การบูรณปฏิสังขรณ์
น้ำพุเตรวีได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในปี ค.ศ. 1998 โดยการทำความสะอาดงานหินและสร้างระบบปั๊มน้ำใหม่

👉🏿ในแต่ละวัน มีผู้โยนเหรียญลงไปในน้ำพุเตรวีราว 3,000 ยูโร โดยการยืนหันหลังแล้วโยนเหรียญข้ามศีรษะตนเองลงไป ซึ่งเงินจำนวนนี้นำไปใช้ในการบำรุงซูเปอร์มาร์เก็ตสำหรับผู้ยากจนในกรุงโรม แต่ก็ยังมีผู้พยายามขโมยเงินในอ่างน้ำพุอยู่เสมอ การโยนเหรียญลงในน้ำพุนี้เป็นความเชื่อตั้งแต่ยุคโรมันโบราณที่ว่าหากใครทำเช่นนี้แล้วจะได้กลับมาเยือนกรุงโรมอีก

ในกลางปี ค.ศ. 2014 ได้มีการบูรณะน้ำพุเตรวีอีกครั้ง โดยเป็นการระดมเงินบริจาคเพื่อการนี้จากบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไป เนื่องจากทางการไม่มีงบประมาณเพียงพอ

รายการบล็อกของฉัน