หน้าเว็บ

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ที่สุดในโลก The Grand Canal คลองขุดที่ยาวที่สุดในโลก ด้วยระยะทางกว่า 1,800 กิโลเมตร ในเมืองจีน

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องที่สุดในโลกบ้าง
อยากรู้เลยหาข้อมูลหลายๆที่ประกอบกันอะไรที่มันคือที่สุดในโลกแบบไหนอย่างไรมาดูกัน

ที่สุดในโลก The Grand Canal คลองขุดที่ยาวที่สุดในโลก ด้วยระยะทางกว่า 1,800 กิโลเมตร ในเมืองจีน

The Grand Canal เป็นหนึ่งในทางคมนาคมทางเรือที่สำคัญของทางตะวันออกและทางเหนือของประเทศจีน เริ่มตั้งแต่ปักกิ่งจนถึงหางโจวในจังหวัดเจ้อเจียง เชื่อมต่อแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซีเกียง ด้วยความยาวของคลองกว่า 1,800 กิโลเมตร ทำให้คลองแห่งนี้กลายเป็นทางเดินเรือที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ยาวที่สุดในโลก และถือว่าเป็นโครงการทางวิศวกรรมที่ใหญ่และก้าวหน้าที่สุดในโลกก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

👉🏿คลองใหญ่ (อังกฤษ: Grand Canal) หรือ ต้า-ยฺวิ่นเหอ (จีนตัวย่อ: 大运河; จีนตัวเต็ม: 大運河; พินอิน: Dà Yùnhé) ขุดในสมัยราชวงศ์สุย เริ่มขุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 587 และใช้เวลาขุดกว่า 30 ปี ใช้แรงงานมนุษย์กว่า 6 ล้านคน จุดประสงค์เพื่อการขนส่งสินค้า การท่องเที่ยวดินแดนเจียงหนาน (ภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำแยงซี) และเพื่อเชื่อมต่อดินแดนภาคเหนือและใต้เข้าด้วยกัน โดยให้ลั่วหยางเป็นศูนย์กลาง เริ่มจากอำเภอจั๋วจวิน (ปักกิ่งปัจจุบัน) จนถึงเมืองอู๋หาง (หางโจวปัจจุบัน) เชื่อมต่อกับแม่น้ำใหญ่ ๆ 5 สายในจีน อันได้แก่ แม่น้ำไห่เหอ แม่น้ำฮวงโห แม่น้ำหวยเหอ แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำเฉียนถังเจียง มีความยาวกว่า 2,500 กิโลเมตร นับเป็นคลองขุดแรงงานมนุษย์ที่มีความยาวที่สุดในโลก โดยแบ่งการขุดเป็น 4 ส่วน ได้แก่ คลองทงจี้ คลองหาน คลองหย่งจี้ และลำน้ำเจียงหนาน

 แต่ละส่วนของคลองแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นในเวลาและสถานที่ที่ต่างกัน เริ่มตั้งแต่สมัยประมาณศตวรรษที่ 5 แต่ก็ยังไม่สำเร็จจนศตวรรษที่ 7 ในช่วงนั้นได้มีปัญหาเกี่ยวกับการบ้านการเมืองในประเทศ ส่งผลต่อการขนส่งสินค้าและการสร้างคลอง

จนมาช่วงราชวงศ์มองโกลหยวน (1271-1368) ได้เกิดการย้ายเมืองหลวงของจีนไปยังเมืองปักกิ่ง จึงไม่จำเป็นต้องใช้คลองทางตะวันตกถึงไคฟงหรือลั่วหยาง เส้นทางลัดจึงถูกสร้างขึ้นบนมณฑลซานตง ซึ่งทำให้ความยาวของ The Grand Canal ลดลงประมาณ 700 กม. และกลายเป็นเส้นทางปัจจุบันของคลองแห่งนี้

มรดกโลก
คลองใหญ่ ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 38 เมื่อปี พ.ศ. 2557 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

(ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
(vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

รายการบล็อกของฉัน